ความยั่งยืนของเกษตรกรชาวสวนยางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภัทรพงศ์ วงศ์สุวัฒน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • วันชัย รัตนวงษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • วัชรวี จันทรประกายกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

ความยั่งยืน, เกษตรกรชาวสวนยาง, ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืน, การประเมินความยั่งยืน

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรชาวสวนยางในส่วนใหญ่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพการทำสวนยางได้อย่างยั่งยืน และจากการทบทวนวรรณกรรมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่กล่าวถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนพบว่า ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินความยั่งยืนของเกษตรกรชาวสวนยาง ประกอบไปด้วย 4 ด้าน 18 ตัวชี้วัด และเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลของเกษตรกรชาวสวนยางจากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 ตัวอย่าง กับตัวชี้วัดปัจจัยจะเห็นได้ว่าเกษตรกรชาวสวนยางในประเทศไทย ยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืน จำนวน 8 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ (รายได้จากการทำสวนยาง และราคาผลผลิต) ปัจจัยด้านสังคม (การศึกษาของเกษตรกร และการได้รับการฝึกอบรม) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่สวนยาง และการไม่สร้างมลภาวะต่าง ๆ) และปัจจัยด้านอื่นๆ (การเข้าถึงการช่วยเหลือสนับสนุนจากนโยบายรัฐบาล รวมถึงการเป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร) ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐรวมถึงภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องเร่งพัฒนาในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางประกอบอาชีพเสริม การยกระดับและสร้างเสถียรภาพราคายางพารา การให้การศึกษาและการฝึกอบรม การบริหารจัดการสวนยางอย่างมีประสิทธิภาพ การรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง การสนับสนุนและช่วยเหลือให้สามารถเข้ารับการช่วยเหลือจากนโยบายรัฐบาลได้อย่างทั่วถึง และการนำการนำแนวคิด BCG Economy Model และแนวคิดชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางวิถีใหม่ มาประยุกต์ใช้

References

การยางแห่งประเทศไทย. ฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร. (2563). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

การยางแห่งประเทศไทย. ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจยาง. (2563). สถานการณ์ยางพารา 2563. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการเกษตร. (2563). สถานการณ์การผลิตยางพารา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

จักรี สุจริตธรรม, เชิดเกียรติ กุลบุตร และสุวารีย์ ศรีปูณะ (2561). การสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยกระบวนการกลุ่มในการพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางพาราแบบครบวงจรในจังหวัดเลย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 18(2), 12-22.

จุมพฏ สุขเกื้อ, และพัชรินทร์ ศรีวารินทร์. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการตลาดกลางยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยยาง.

ญาณิศา สมสกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพารา กรณีศึกษา: อุตสาหกรรม ยางพาราในเขตอำเภอดอยหลวงจังหวัดเชียงราย (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทวนทัศน์ นิลดำ, รังสฤษดิ์ กาวีต๊ะ, และนุชนาถ มั่งคั่ง. (2561). ความยั่งยืนของอาชีพเกษตรกร ในพื้นที่อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(3), 517-561.

นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2562). ผลกระทบจากนโยบายยางพาราของรัฐบาลต่อการปลูกยางพาราในไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2).

เนตรวดี เพชรประดับ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 3596-3617.

พลากร สัตย์ซื่อ, และปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำในอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(3).

มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร, อภิญญา วนเศรษฐ์, วิศิษฎ์ ลิ้มสมบุญชัย และสุวรรณา สายรวมญาติ. (2555). การศึกษานโยบายและมาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของ ประเทศไทย ด้วยกองทุนรักษาเสถียรภาพราคาและแนวทางที่เหมาะสมในการจัดตั้ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานสนับสนุนการวิจัย.

รักพงษ์ รติคุณูปกร. (2562). บทบาทของการยางแห่งประเทศไทยในการพัฒนายางพาราทั้งระบบ. JHUSO, 10, 259-269.

วริพัสย์ เจียมปัญญารัช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของเกษตรกรอินทรีย์ของไทย: บทเรียนจากเกษตรกรรายย่อย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20, 199-215.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). รายงานดัชนีความผาสุกของเกษตรกร ปี2562 . บันทึกข้อความที่ กษ 0206.01/ว8509. 5 ตุลาคม 2563.

Amiril, A., Nawawi, A. H., Takim, R., & Latif, S. N. F. A. (2018). Sustainability factors and performance. Asian Journal of Quality of Life (AjQoL), 3(9), 151-160.

Arodudu, O., Helming, K., Wiggering, H., & Voinov, A. (2017). Towards a more holistic sustainability assessment framework for agro-bioenergy systems : A review. Environ. Impact Assess.Rev. 62, 61–75.

Azapagic, A., Stamford, L., Youds, L., & Barteczko-Hibbert, C. (2016). Towards sustainable production and consumption: A novel decision-support framework integrating economic, environmental and social sustainability (DESIRES). Computers & Chemical Engineering. 91, 93-103.

Brundtland, G. (1987). Report of the World commission on environment and development: Our common future. United Nations General Assembly document A/42/427.

Ceptureanu, S. I., Ceptureanu, G. E., Luchian, C. E., & Luchian L. (2018). Community based programs sustainability. A multidimensional analysis of sustainability factors. Sustainability, 10(3), 870. doi:10.3390/su10030870

Chanchaichujit, J., Saavedra-Rosas, J., Quaddus, M., & West, M. (2016). The use of an optimisation model to design a green supply chain: A case study of the Thai rubber industry. Int. J. Logist. Manag. 27(2), 595-618.

Chen, L., Zhao, X., Tang, O., Price, L., Zhang, S., & Zhu, W. (2017). Supply chain collaboration for sustainability: A literature review and future research agenda. International Journal of Production Economics, 194, 73-87.

Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of psychological testing. New York: Harper and Row Publishers.

Elkington, J. (1997). Cannibals with forks – Triple bottom line of 21st century business. Stoney Creek, CT: New Society Publishers.

Galal, N. M., & Moneim, A. F. (2016). Developing sustainable supply chains in developing countries.. Procedia CIRP 48, 419 – 424.

Kumar, D., & Rahman, Z. (2015). Sustainability adoption through buyer supplier relationship across supply chain: A literature review and conceptual framework. International Strategic Management Review, 3(1), 110-127.

Little, J. C., Hester, E. T., & Carey, C. C. (2016). Assessing and enhancing environmental sustainability: A conceptual review. Environmental Science & Technology, 50(13), 6830–6845.

Massaroni, E., Cozzolino, A., & Wankowicz, E. (2015). Sustainability in supply chain management-a literature review. Sinergie. 33(98), 331-355.

Prommee, P., Kuwornu, J. K. M., Jourdain, D., & Shivakoti, G. P. (2017). Factors influencing rubber marketing by smallholder farmers in Thailand. Development in Practice, 27(6), 865-879.

Razak, S. B. A., Aziz, A. A., Ali, N. A., Ali, M. F., & Visser, F. (2016). The sustainable integration of meliponiculture as an additional income stream for rubber smallholders in Malaysia. In Conference: CRI & IRRDB international rubber conference 2016, Siem Reap, Cambodia, 143–156.

Rosca, E., Arnold, M., & Bendul, J. (2017). Business models for sustainable innovation: An empirical analysis of frugal products and services. Journal of Cleaner Production, 162, 133-145

Rovinelli, R. J, & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Sala, S., Farioli, F., & Zamagni. (2013). A life cycle sustainability assessment in the context of sustainability science progress (part 2). Int. J. Life Cycle Assess, 18, 1686–1697.

Tran, T. L. (2020). Economic efficiency of rubber production and affecting factors: Case of smallholder rubber production in Quang Binh Province, Vietnam. African Journal of Agriculteral Research, 16(11), 1622-1630.

Vural, C. A. (2015). Sustainable demand chain management: An alternative perspective for sustainability in the supply chain. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 207, 262-273.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29