ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลังของผู้ใหญ่ตอนต้น : กรณีศึกษาบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นันต์ธิญา ภู่คุ้ม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุพัทธ แสนแจ่มใส คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลัง, ผู้ใหญ่ตอนต้น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของปัจจัยทางจิต ได้แก่ เจตคติต่อการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ และการคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม และปัจจัยทางสังคม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม ที่มีต่อการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลังของผู้ใหญ่ตอนต้นทั้งในกลุ่มรวม และกลุ่มย่อยตามลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีอายุระหว่าง 30-40 ปี จำนวน 500 คน ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นฝ่ายการพยาบาลจำนวน 250 คน และฝ่ายการสนับสนุน 250 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยทางจิต ได้แก่ เจตคติต่อการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุ และการคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม และปัจจัยทางสังคม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลังของผู้ใหญ่ตอนต้นในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยสังกัดฝ่ายการพยาบาล และสังกัดฝ่ายการสนับสนุน ได้ร้อยละ 26.2 29.8 และ 20.2 ตามลำดับ

References

กนกอร เนตรชู. (2562). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒิพลังของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 11(2), 98-116.

กรมกิจการผู้สูงอาย. (2562). เติมรู้ เตรียมพร้อมก่อนสูงวัย. กรุงเทพฯ: กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ.

ดลนภา ไชยสมบัติ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 3(29), 131-143.

นงเยาว์ มีเทียน. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤฒิพลังของผู้ใหญ่วัยกลางคนในชุมชนเขตกึ่งเมือง. Journal of Nursing Science and Health, 41(1), 47-55.

บรรลุ ศิริพานิช. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการ : เอกสารคำสอนวิชา จต 221. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระครูพิสณฑ์สิทธิการ (อรุณ ธมมวโร). (2561). ศึกษากระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะพลังบวกของผู้สูงอายุในจังหวัดสระบุรี (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร พุทธรังษี. (2558). การสร้างเสริมสุขภาวะของบุคลากรทางการพยาบาลในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(2), 8-14.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมพร วัชระศิลป์. (2560). ศึกษารูปแบบวิธีคิดเชิงพุทธเพื่อปลุกเร้ากุศลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 13(ฉบับพิเศษ เล่ม 3), 67-79.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุชา จันทน์เอม. (2542). จิตวิทยาพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

อวัสฎา จงอุดมสุข. (2560). อิทธิพลของปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสังคมที่มีต่อการสร้างพลังเพื่อรับมือกับวัยสูงอายุของผู้ใหญ่วัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Franklin, S. W. S., & Mohammad, E. E. H. (2021). Knowledge, attitude and practice of adolescence and early adulthood on healthy lifestyle: A cross sectional study in Al-Namas, Saudi Arabia. Journal of Information and Computational Science, 11(4), 371-379. doi: 10.12733.JICS.2021.V11I3.535569.31040

Hair, E. A. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. London, Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

Jung, J. Y., Oh, Y. H., Oh, K. S., Suh, D. W., Shin, Y. C., & Kim, H. J. (2007). Positive-thinking and life satisfaction amongst Koreans. Yonsei Medical Journal, 48(3), 371-378.

Strecher, V. J. (1986). The role of self-efficacy in achieving elderly’s health behavior change. Journal of Health Education Quarterly, 13(1), 73-92.

World Health Organization. (2002). Active ageing: A policy framework (No. WHO/NMH/NPH/02.8). Geneva: Author.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29