วิธีการสอนที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ : การวิเคราะห์อภิมาน

ผู้แต่ง

  • เชียง เภาชิต วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุธีรา นิมิตรนิวัฒน์ วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • นักรบ หมี้แสน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การวิเคราะห์อภิมาน, วิธีการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาสภาพงานวิจัยที่ได้จากการสังเคราะห์ในด้านข้อมูลที่จะให้เนื้อหาสาระ วิธีวิทยาและด้านคุณภาพที่เกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และศึกษาวิธีการสอนที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการวิเคราะห์อภิมาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณตั้งแต่ปี 2525-2547 และเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง จำนวน 15 เล่ม ซึ่งผู้วิจัยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 15 ค่า จากนั้นนำค่าที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์ความแตกต่างค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลด้วย Mann-Whitney U Test และ Kruskal Wallis Test ผลการศึกษาพบว่า 1. การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลกับตัวแปรวิธีการสอน ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติได้ที่ .05 ค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลของตัวแปร วิธีการสอนแตกต่างกัน 2. การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลกับตัวแปรแนวคิดที่สำคัญที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติได้ที่ .05 ค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลกับตัวแปรแนวคิดที่สำคัญที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไม่แตกต่างกัน

References

ดำรงศักดิ์ สุดเสน่ห์. (2559). กระบวนการสร้างเสริมศักยภาพการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตามธรรมชาติวิชาวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ทิศนา แขมมณี. (2542). การจัดการเรียนการสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โมเดล ซิปปา (CIPPA Model). วารสารวิชาการ, 2(5), 29.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2543). การพัฒนานิสิตนักศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2542). แนวทางการปฏิรูประบบบริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารปฏิรูปการศึกษา, 1(12), 7.

สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม. (2529). การวิเคราะห์เมทต้าของงานวิจัย. กรุงเทพฯ: กองวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

อมรรัตน์ เตชะนอก และคณะ. (2563). การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9), 1-15.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2543). การพัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนการสอนทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดและเทคนิค. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทุมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย: เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับลิชชิ่ง.

Ennis, R. H. (1987). A taxonomy of critical thinking dispositions and abilities. In J. B. Baron & R. J. Sternberg (Eds.), Series of books in psychology. Teaching thinking skills: Theory and practice (pp. 9–26). W H Freeman/Times Books/ Henry Holt & Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25