การศึกษาเกลือสินเธาว์สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกลือสปาเพื่อกิจกรรมการท่องเที่ยว เพื่อสุขภาพโดยใช้กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน:อำเภอ ขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
เกลือสินเธาว์, การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกลือสปา, การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่แหล่งเกลือสินเธาว์ของ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตและจำหน่ายเกลือสินเธาว์ของ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา และ3) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ของ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสปาและเกลือขัดผิว 16 คน และกลุ่มพนักงานออฟฟิศ 20 คน และกำหนดสุ่มตัวแทน 19 คน ตามวิธีการของเครซี่และมอร์แกน (Robert V. Krejcie and Earyle W. Morgan) พบว่า 1) บริบทพื้นที่แหล่งเกลือสินเธาว์ พบว่า ผู้ผลิตเกลือสินเธาว์แบบดั้งเดิมมีทั้งหมด 16 ครัวเรือน อายุเกิน 40 ปี ผลิตเกลือในรูปแบบของการต้มเกลือแบบดั้งเดิมไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย 2) กระบวนการผลิตและจำหน่ายเกลือสินเธาว์ พบว่า อายุของอาสาสมัครอยู่ระหว่าง 20-30 ปี สถานะภาพโสด ทำอาชีพพนักงานราชการ มีรายได้น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ใช้เกลือสครับ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีข้อเสนอแนะ คือ ปรับปรุงความละเอียดของเกลือ ชื่อผลิตภัณฑ์ให้แสดงความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และความสะอาดของเกลือ และ3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกลือสินเธาว์ พบว่า ผลิตภัณฑ์มีเม็ดเกลือมีความละเอียดพอดี บรรจุภัณฑ์มีการปิดผนึกมิดชิดมีกลิ่นหอมของมะกรูดหลังการใช้รู้สึกสะอาดสดชื่น และไม่ระคายเคืองผิวหนัง
References
กรมทรัพยากรธรณี. (2559). เกลือ. สืบค้น 17 มกราคม 2562, จาก http://www.dmr.go.th/main.php?filename=halite.
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้าสู่ประเทศไทย. สืบค้น 17 มกราคม 2562, จาก https://www.mots.go.th/
กฤช เหลือลมัย. (2561). วิถีชาวบ้าน. สืบค้น 7 ธันวาคม 2562, จาก https://www.technologychaoban.com/folkways/article_52897
กานดา ธีรานนท์. (2561). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย สถานการณ์และศักยภาพทางการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 12(1), 22-34.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2557). ผลการวิเคราะห์ปัจจัยผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษากังหันทอง เกลือสปา อำเภอแหลม จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี.
จินตวีร์ เกษมศุข. (2561). แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(50), 169-186.
ชายชัย ชัยรุ่งเรือง. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งของเทศบาลปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 115-128.
ณัฐชยา เหมือนสมหวัง. (2560). สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. สืบค้น 14 มกราคม 2563, จาก http://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/WNRPT6012070010002
ปณฉัตร หมอยาดี. (2555). การสืบทอดและการพัฒนาการผลิตเกลือสินเธาว์ ตำบลบ่อ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พัชฎาภรณ์ แสงทามาตย์. (2562). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตเกลือสินเธาว์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(1), 151-161.
พุทธพร อักษรไพโรจน์. (2561). ธุรกิจสปาไทย: มิติของการพัฒนาทุนมนุษย์ภายหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: University of the Thai Chamber of Commerce.
เมธินีย์ ชอุ่มผล. (2561). เกลือ” ทองคำขาวแห่งดินแดนอีสาน. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.muangboranjournal.com/post/salt-northeast
ศิริลักษณ์ ระหว้า. (2558). การทำนาเกลือ. สืบค้น 10 ธันวาคม 2562, จาก http://sirilukrawa026008.blogspot.com/2015/07/blog-post.html
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขามทะเลสอ. (2564). ข้อมูลอำเภอขามทะเลสอ. สืบค้น 21 เมษายน 2562, จาก https://district.cdd.go.th/khamthaleso/
อธิปัตย์ สายสูง. (2557). ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเกลือสินเธาว์ภูเขาในอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อมฤต หมวดทอง. (2558). เกลือและประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานชุมชนในอีสาน. NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 29, 165-165.
อรทัย พระทัด. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ กรณีศึกษา ป้อมมหากาฬ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น