โครงสร้างตลาดและพฤติกรรมการแข่งขันในตลาดโซล่าร์รูฟท็อป

ผู้แต่ง

  • ธนัทเทพ จิระประวัติตระกูล วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • รุจิระ โรจนประภายนต์ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

โครงสร้างตลาด, โซล่าร์รูฟท็อป, พฤติกรรมการแข่งขัน, นโยบายพลังงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุลักษณะโครงสร้างของตลาดโซล่าร์รูฟท็อปในประทศไทยในช่วงปี และเพื่อพรรณนาลักษณะพฤติกรรมการแข่งขันในตลาดโซล่าร์รูฟท็อปในประเทศไทย ใช้กรอบแนวคิดความสัมพันธ์ของโครงสร้างการตลาด พฤติกรรมของหน่วยผลิต และผลของการดำเนินงาน (Structure-Conduct-Performance (SCP)) เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภครวมทั้งหมด 9 ราย แนวคำถามการสัมภาษณ์พัฒนาจากทฤษฎีโครงสร้างการตลาด พฤติกรรมของหน่วยผลิต และผลของการดำเนินงาน ร่วมกับแนวคิดเกี่ยวกับการแพร่กระจายนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ด้วยแนวคิดการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลวิจัยพบว่า ประการแรก โครงสร้างตลาดในปัจจุบัน มีองค์ประกอบสำคัญได้แก่ การเป็นตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ การไม่มีความแตกต่างกันในด้านเทคโนโลยี และผู้บริโภคมีความสนใจในการติดตั้ง ประการที่สอง ตลาดมีพฤติกรรมการแข่งขันที่มีลักษณะสำคัญคือ ผู้บริโภคเป็นผู้กำหนดราคา ผลการดำเนินการมีผลกำไรต่ำ และการสนับสนุนจากทางภาครัฐมีอิทธิพลต่อการผลักดันให้เกิดการติดตั้ง ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือ ประการแรก ภาครัฐควรออกนโยบายช่วยเหลือผู้บริโภคด้านการเงินในด้านการติดตั้งและการรับซื้อไฟฟ้า และ ประการที่สอง ภาครัฐควรจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จสำหรับกระบวนการติดตั้ง ซึ่งประกอบด้วยการสนับสนุนด้านการเงิน การจัดทำรายชื่อผู้ประกอบการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน และ การอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขออนุญาตติดตั้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยนี้จะช่วยหาวิธีที่นำไปสู่การเพิ่มจำนวนการติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปในประเทศไทย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2555). สถานการณ์ดุลยภาพพลังงานของประเทศไทยปี 2555. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2563). สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย เดือนมกราคม - มิถุนายน 2563. สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก https://www.dede.go.th/download/stat63/fontpage_dec2020.pdf

กระทรวงพลังงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579. สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/plan-policy/tieb/aedp

กระทรวงพลังงาน. (2562). รายงานประจำปี 2562. สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก https://energy.go.th/2015/wp-content/uploads/2021/04/Energy_Annual_Report_2562-V2.pdf

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. (2562) ภาพรวม โครงสร้าง นโยบายพลังงาน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

วัฒนพงษ์ คุโรวาท. (2562). เปิดยอด โซล่าร์ภาคประชาชน. สืบค้น 20 เมษายน 2563, จาก https://www.thebangkokinsight.com/231038/.

สุภาสินี ตันติศรีสุข. (2545). เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม และทฤษฎีองค์กรอุตสาหกรรม, ประมวลสาระวิชาชุดเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม หน่วยที่ 1 – 8. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Agyekum, K., Adinyira, E., Baiden, B., & Ampratwum, G. (2019). Barriers to the adoption of green certification of buildings: A thematic analysis of verbatim comments from built environment professionals. Journal of Engineering, Design and Technology, 17(6). Retrieved from https://doi.org/10.1108/JEDT-01-2019-0028

Borenstein, R. (2015). The private net benefits of residential solar PV: And who gets them. Retrieved April 21, 2020, from http://idei.fr/sites/default/files/medias/doc/conf/eem/conf2014/Abstract_Borenstein.pdf.

Braun, V., & Clarke, V. (2009). Special issue: Coming out in higher education. Lesbian & Gay Psychology Review, 10, 3–69.

Everett, R. (1995). Diffusion of innovations (4th ed.). New York: The Free Press.

Gillingham et al. (2016). Deconstructing solar photovoltaic pricing: The role of market structure, technology, and policy. Berkeley lab.

Herzog, C. (2019). Analyzing talk and text II: Thematic analysis. In The Palgrave Handbook of Methods for Media Policy Research. chapter 22.

Li et al. (2017). Reduction of solar photovoltaic resources due to air pollution in China. Retrieved April 21, 2020, from https://www.pnas.org/content/114/45/11867

Rai, V., Reeves, D., & Margolis, R. (2016). Overcoming barriers and uncertainties in the adoption of residential solar PV. Renewable Energy, 89, 498-505. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.renene.2015.11.080

Sigrin, B., Pless, J., & Drury, E. (2015). Diffusion into new markets: evolving customer segments in the solar photovoltaics market. Environmental Research Letters, 10, 1-8. Retrieved from https://doi.org/10.1088/1748-9326/10/8/084001

Owen,W. F. (1984). Interpretive themes in relational communication. Quarterly Journal of Speech, 70, 274–287.

Varun, R. (2011). Decision-making and behavior change in residential adopters of solar pv. Retrieved April 21, 2020, from https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.463.3935&rep=rep1&type=pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29