ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสินเชื่อกับความสามารถในการทำกำไร ในสถานการณ์ Covid-19 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา วงษ์ศิริ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • เปรมารัช วิลาลัย สายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • อริสรา ธานีณานนท์ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยด้านสินเชื่อ, ความสามารถในการทำกำไร, สถานการณ์ Covid-19

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสินเชื่อกับความสามารถในการทำกำไร ในสถานการณ์ Covid-19 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลในงบการเงินประจำปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2563 วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ลักษณะข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาของตัวแปร การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และการวิเคราะห์สมมติฐานโดยสมการถดถอยเชิงพหุคูณ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

การศึกษาในครั้งนี้มีตัวแปรอิสระ คือปริมาณสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) คุณภาพสินเชื่อ (PPL) ประสิทธิภาพการดำเนินงาน (OPE) สภาพคล่องหมุนเวียน (LD) ส่วนต่างดอกเบี้ยรับ (NIM) และสัดส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (FEE) กับตัวแปรตามคือ ความสามารถในการทำกำไร (Adj.ROA) ผลการศึกษาพบว่า ส่วนต่างดอกเบี้ยรับ (NIM) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับความสามารถในการทำกำไร และปริมาณสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ประสิทธิภาพการดำเนินงาน (OPE) สภาพคล่องหมุนเวียน (LD) และสัดส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (FEE) มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับความสามารถในการทำกำไร ในสถานการณ์ Covid-19 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

References

จารุวรรณ เอี่ยมยิ่งพานิช. (2563). โควิด 19 ส่งผลกระทบทางลบต่อธุรกิจแบงค์. สืบค้น 8 มีนาคม 2564, จาก https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=V01JQThha3UvTDQ9

จิณห์วหา เชื้อเมืองพาน. (2552). ความสามารถในการทํากําไรของธนาคารพาณิชย์ไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชนัตถา พานิชลือชาชัย. (2558). ปัจจัยด้านสินเชื่อที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นริศ สถาผลเดชา. (2563, 8 สิงหาคม). วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ไทย. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892797

บุญเลิศ กมลชนกกุล. (2563). 5 กุญแจสำคัญเพื่อรับมือโลกหลังวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มธุรกิจธนาคารและตลาดทุน. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20200826.html

ปิยพงศ์ พู่วณิชย์, และ อัครนันท์ คิดสม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทํากําไรของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เปรมารัช วิลาลัย, พัทธนันท์ เพชรเชิดชู, และศิริเดช คำสุพรหม. (2563). การจัดการกำไรผ่านการใช้ดุลยพินิจในการสร้างรายการทางธุรกิจ และการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างกับความสามารถในการทำกำไรในอนาคต. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 83-96. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/242129/165974

มณฑลี กปิลกาญจน์, พรชนก เทพขาม, นันทนิตย์ ทองศรี, และ พัชยา เลาสุทแสน. (2563). ผลกระทบโควิด 19 ต่อตลาดแรงงานไทย. สืบค้น 21 มีนาคม 2564, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_12Oct2020.aspx

วิกานดา ใจสมุทร. (2558). อิทธิพลของปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2563). โรคระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19): ผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยและกลยุทธ์ในการฟื้นฟูกิจการ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(2), 10-30. สืบค้นจากhttps://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/article/view/245007

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). แนวปฏิบัติทางการบัญชี เรื่อง มาตรการผ่อนปรนชั่วคราวสำหรับกิจการที่ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.tfac.or.th/upload/9414/V703Vw8igk.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). สภาพัฒน์เผยรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 1 ปี 2563. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=10260&filename=index

อรุณรัตน์ ลิขิตทางธรรม. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Bhojraj, S., Hribar, P., Picconi, M., & McInnis, J. M. (2009). Making sense of cents: An examination of firms that marginally miss or beat analyst forecasts. The Journal of Finance, 64(5), 2361-2388. Retrieved from https://doi.org/10.1111/j.1540-6261.2009.01503.x

Kingu, P. S., Macha, S., & Gwahula, R. (2018). Impact of non-performing loans on bank’s profitability: Empirical evidence from commercial banks in Tanzania. International Journal of Scientific Research and Management, 6(1), 71-78. https://doi.org/10.18535/IJSRM/V6I1.EM11

Martani, D., & Munaiseche, R. R. (2008). Factors affecting profitability of multi-finance company in Indonesia. China-USA Business Review, 53.

Nicola, M., Alsafi, Z., Sohrabi, C., Kerwan, A., Al-Jabir, A., Losifidis, C., … & Agha, R. (2020). The socio-economic implications of the coronavirus pandemic (COVID-19): A review. International journal of surgery (London, England), 78, 185–193. https://doi.org/10.1016/j.ijsu.2020.04.018

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29