ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผลกระทบการท่องเที่ยวที่มีต่อ ชุมชนตลาดน้ำคลองบางหลวงธนบุรีกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ศักยภาพการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, ผลกระทบจากท่องเที่ยว, ชุมชนตลาดน้ำคลองบางหลวง, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนตลาดน้ำคลองบางหลวงธนบุรีกรุงเทพมหานครวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผลกระทบด้านบวกด้านลบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนตลาดน้ำคลองบางหลวงธนบุรีกรุงเทพมหานครการวิจัยเชิงคุณภาพการรวบรวมข้อมูลใช้วิธีแบบสำรวจพื้นที่แบบประเมินศักยภาพแบบสังเกตแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนกลุ่มศิลปินผู้ประกอบการท่องเที่ยวร้านค้าชุมชนชาวบ้านในชุมชนมัคคุเทศก์และเจ้าหน้าที่รัฐรวม 36 คนการวิเคราะห์ประเมินศักยภาพโดยการสำรวจพื้นที่ใช้แนวคิด 3 A สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวสิ่งอำนวยความสะดวกและทฤษฎีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของRichardson ซึ่งผลการวิพบว่าศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศประกอบด้วยโบราณสถานบ้านศิลปินบ้านริมคลองตลาดน้ำคลองบางหลวงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของชุมชนด้านผลกระทบการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนตลาดน้ำคลองบางหลวงผลกระทบด้านบวกสร้างรายได้ความสามัคคีในชุมชนการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมธรรมชาติลำคลองและภาครัฐมีส่วนสนับสนุนการท่องเที่ยวผลกระทบด้านลบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศปัญหาการพึ่งพาการท่องเที่ยวทำให้เกิดปัญหารายได้การขาดอาชีพเสริมจากปัญหาโรคระบาดการเปลี่ยนแปลงของที่อยู่อาศัยเพื่อการท่องเที่ยวปัญหาขยะจากการท่องเที่ยวการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อการท่องเที่ยวจากผลการวิจัยพบว่าการท่องเที่ยวช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมซึ่งเป็นผลกระทบด้านบวกมากกว่าด้านลบภาครัฐหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและช่วยเหลือให้การท่องเที่ยวยังคงอยู่กับคนในชุมชนต่อไป
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2549). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กิตติพงษ์ ประชุมแดง. (2533). ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวต่อ ชาวบ้านคูเดื่อ ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
แมวเซาผู้น่าสงสาร. (2561). ตลาดน้ำคลองบางหลวง. สืบค้น 30 เมษายน 2564, จากhttps://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=pakdee6&month=012019&date=08&group=21&gblog=55
วิมล จิโรจพันธ์ และคณะ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่ง ท่องเที่ยวจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2529). แนวคิดด้านศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อมรดกศิลปวัฒนธรรม. จุลสารการท่องเที่ยว, 40-42.
วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2550). ทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทย. เอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทยสาขาวิชาวิทยาการจัดการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Dye, T. R. (1982). Understanding public policy. Englewood Cliffs, Nj: Prentice Hall.
Richardson, J. (1993). Ecotourism & nature based Holidas. Syd: Australian Print Group.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น