ความมั่นคงทางอารมณ์ ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การเสริมสร้างพลังอำนาจ และความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนสายสามัญ ในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ปกรณ์ รัตนทรัพย์ศิริ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความมั่นคงทางอารมณ์, การฟันฝ่าอุปสรรค, พลังอำนาจ, ความสุขในการทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความมั่นคงทางอารมณ์ ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การเสริมสร้างพลังอำนาจและความสุขในการทำงาน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงทางอารมณ์กับความสุขในการทำงาน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคกับความสุขในการทำงาน และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจกับความสุขในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนเอกชนสายสามัญในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 285 ตัวอย่าง คัดเลือกด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาจากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำไปทดสอบความเที่ยงของเนื้อหาและทดสอบความเชื่อมั่นโดยรวมในแต่ละด้าน พบว่าค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความความมั่นคงทางอารมณ์โดยรวมเท่ากับ .85 แบบสอบถามด้านความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคโดยรวมเท่ากับ .94 แบบสอบถามด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยรวมเท่ากับ .98 แบบสอบถามความสุขในการทำงานโดยรวมเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test, Least Significant Difference (LSD) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ .01 ผลการวิจัยพบว่า 1) ความมั่นคงทางอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค การเสริมสร้างพลังอำนาจ และความสุขในการทำงานของครูอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความมั่นคงทางอารมณ์โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานโดยรวมของครูในระดับ .44 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานโดยรวมของครูในระดับ .71 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) การเสริมสร้างพลังอำนาจโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานโดยรวมของครูในระดับ .64 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ทรงศรี สารภูษิต. (2558). การพัฒนาความมั่นคงทางอารมณ์ของวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวโดยการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริพันธ์ สอนสุทธิ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บุคลิกภาพ คุณค่าในงานกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ หน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก ในโรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2552-2555). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2557). แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษาเอกชน พ.ศ. 2556-2560. สืบค้น 24 สิงหาคม 2564, จาก http://www.opec.go.th/naeana-sch

Kanter, R. M. (1997). Men and women on the corporation. New York: Basic Books.

Manion, J. (2003). Joy at work: creating a positive workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.

Smith, J. (2003). Big five personality questionnaire (work style report). Retrieved May 16, 2020, from http://www.scribd.com/doc/216686264/Big-Five-Personality-Questionnaire#scribd.

Stoltz, P. G. (1997). Adversity quotient: Turning obstacles into opportunities. United States of America: John Wiley and Sons.

Yamane, T. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29