หลักการกำหนดความผิดอาญาและหลักการกำหนดโทษอาญาในการตรากฎหมาย
คำสำคัญ:
การกำหนดความผิดอาญา, การกำหนดโทษทางอาญาบทคัดย่อ
ประมวลกฎหมายอาญาของไทยฉบับแรกเรียกว่า “กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127” บัญญัติขึ้นในรูปแบบ“ประมวลกฎหมาย” เมื่อรัตนโกสิทรศก 127 (ร.ศ. 127) หรือตรงกับ พ.ศ. 2451 ซึ่งใช้บังคับตลอดมาจนถึงได้มี “ประมวลกฎหมายอาญา”ออกใช้บังคับแทนเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 และใช้บังคับจนถึงปัจจุบัน หลักการกำหนดความผิดอาญาต้องคำนึงถึงหลักประกันในกฎหมายอาญาเสมอ โดยกฎหมายที่เกิดจากการบัญญัติเท่านั้นที่สามารถกำหนดให้การกระทำใดการกระทำหนึ่งเป็นความผิด และกฎหมายที่เกิดจากการบัญญัติเท่านั้นที่สามารถกำหนดโทษสำหรับการกระทำใดการกระทำหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อการลงโทษทางอาญาถือว่าเป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุดของรัฐที่ใช้กับประชาชนในรัฐ ดังนั้น การบัญญัติกฎหมายอาญา ฝ่ายนิติบัญญัติจึงต้องบัญญัติกฎหมายอาญาให้ชัดเจนแน่นอนที่สุดเพื่อคุ้มครองและเกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน อนึ่ง การกำหนดโทษทางอาญาควรเป็นไปตามหลักความยุติธรรมให้ได้สัดส่วนความร้ายแรงของความผิดด้วย โดยการพิจารณาความร้ายแรงของความผิดอาญานอกเหนือจากการคำนึงถึงหลักการทางวิชาการแล้ว ยังต้องคํานึงถึงความสํานึกทางศีลธรรมของสมาชิกในสังคมในช่วงเวลานั้นๆประกอบด้วย เพราะประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายอาญายังขึ้นอยู่กับความสำนึกในทางศีลธรรมของบุคคลในสังคมซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงแบบพลวัตและตามกาลเวลา
References
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2562). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง ประเทศไทย.
คณพล จันทน์หอม. (2553). กฎหมายลักษณะอาญา รัตนโกสินทร์ ศก 127. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณพล จันทน์หอม. (2563). กฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
คณิต ณ นคร. (2514). ข้อสังเกตเกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์. อัยการนิเทศ, 33(4), 328.
คณิต ณ นคร. (2523). คุณธรรมทางกฎหมายกับการใช้กฎหมายอาญา. วารสารอัยการ, 3(25), 60.
คณิต ณ นคร. (2559). กฎหมายอาญาภาคความผิด (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
คณิต ณ นคร. (2563). กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 7 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2532). กฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 2 และภาค 3 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2548). กฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 1 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2562). ประมวลกฎหมายอาญาฉบับอ้างอิง (พิมพ์ครั้งที่ 42). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ปกป้อง ศรีสนิท. (2563). กฎหมายอาญาชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522. (2522, 14 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอนที่ 80.
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535. (2535, 12 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 109 ตอนที่ 22.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2561). ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับหัวเรื่องเรียงมาตรา พ.ศ. 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 8 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (2539). ความผิดฐานวางเพลิงกรณีพิเศษ. ดุลพาห, 43(3), 132-141.
หยุด แสงอุทัย. (2483). การวินิจฉัยปัญหาคดีอาญา. บทบัณฑิตย์, 11, 232.
หยุด แสงอุทัย. (2537). กฎหมายอาญาภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2562). นิติวิธีในการตีความกฎหมายอาญาของประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(107), 249.
อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2563). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
Harcourt, Bernard E. (2003). The shaping of chance: Actuarial models and criminal profiling at the turn of the twenty-first century. University of Chicago Law Review, 70(1), 1-24.
LaFave, W. R., & Scott Jr, A. W. (1972). Criminal law. St. Paul, Minn: West.
Packer, H. L. (1968). The limits of the criminal sanction. California: Stanford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น