การถอดบทเรียนเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • อริย์ธัช อักษรทับ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • อิสรี แพทย์เจริญ การจัดการอุตสาหกรรมการบริการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ชาญวิทย์ จาตุประยูร การจัดการอุตสาหกรรมการบริการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • วุฒิพงษ์ ฉั่วตระกูล การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

การถอดบทเรียน, กลยุทธ์, การบริหารจัดการ, วิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนกลยุทธ์การบริหารวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทองโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับเทคนิคการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประธานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทองรวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 ราย คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชนด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) และระดับศักยภาพ ผลที่ได้จะถูกใช้เพื่อพัฒนาและระบุกลยุทธ์การบริหารจัดการด้วยเทคนิค TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การบริหารจัดการที่เหมาะสมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทอง ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์เชิงรุก คือ กลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์และมาตรฐานต่อยอดสู่การจัดจำหน่ายในตลาดต่างประเทศแบบออนไลน์ 2) กลยุทธ์เชิงรับ คือ การสร้างเครือข่ายและความเข้มแข็งให้กับชุมชน 3) กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ การส่งเสริมการสนับสนุนเพื่อการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนและพัฒนาสมาชิกกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ 4) กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น กลยุทธ์เหล่านี้ต่างเหมาะสมต่อการกำหนดแนวทางบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนแปรรูปลำไยเนื้อสีทองที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

References

กนกวรา พวงประยงค์, และวิภาภรณ์ เครือจันทร์. (2563). กลยุทธ์การบริหารจัดการองค์กรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน บ้านแหลมโฮมสเตย์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 56-71.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2559). รายงานข้อมูลภาวะการผลิตพืชรายเดือน ระดับตําบล. สืบค้น 1 กันยายน 2564, จาก http://www.agriinfo.doae.go.th/longan.pdf.

ฌัชฌานันท์ นิติวัฒนะ. (2558). แนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์ทางการตลาดภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(91), 220-238.

บัญชา อินทะกูล. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ วิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงใหม่อย่างยั่งยืน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ปิยะดา พิศาลบุตร. (2561). กลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(1). 105-120.

รัชนิกร กุสลานนท์, ชฎาพัศฐ์ สุขกาย, และอนันต์ แก้วตาติ๊บ. (2564). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นถิ่นเพื่อยกระดับอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่าสินค้าทางวัฒนธรรม ชุมชนเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 13(1), 16-30.

วนิดา สุวรรณนิพนธ์. (2564). ความสามารถในการแข่งขันบนฐานเศรษฐกิจดิจิทัลของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสินค้าท้องถิ่นในกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา, 13(1), 1-21.

วรางคณา จันทร์คง. (2557). การถอดบทเรียน ตอนที่ 1. จุลสารสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์. สืบค้น 23 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/ book571/rsearch571.pdf.

ส. ศิริชัย นาคอุดม, ธนกฤต ยอดอุดม, และเพียงพิศ ศรีประเสริฐ. (2563). ทุนทางสังคม: ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชน. วารสารนักบริหาร, 40(1), 115-124.

สุธัญญา ทองรักษ์, สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย, และธีระพงศ์ จันทรนิยม. (2561). การพัฒนาเกษตรกรรายย่อยแบบมีส่วนร่วมในการผลิตปาล์มน้ำมัน อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเทพพิทักษ์ปาล์ม จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(3), 185-199.

อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์, และณัฐนิชา กรกิ่งมาลา. (2561). วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12(2), 221-227.

อินทุราภรณ์ มงคลขจรกิตติ, และอรรถ อภินนท์ธีระศักดา. (2562). การพัฒนาศักยภาพและกระบวนการผลิต ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(2), 169-181.

Denzin, N. K. (1989). The research act (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Namugenyi, C., Nimmagadda, S. L., & Reiners, T. (2019). Design of a SWOT analysis model and its evaluation in diverse digital business ecosystem contexts. Procedia Computer Science, 159(19), 1145–1154. https://doi.org/10.1016/j.procs.2019.09.283

Oreski, D. (2012). Strategy development by using SWO: AHP. TEM Journal, 1(4), 283-291.

Stoner, J. A. F., & Freeman, E. R. (1989). Management (4thed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Weihrich, H. (1982). The TOWS matrix: A tool for situational analysis. Long Range Planning, 15(2), 54-66.

Wickramasinghe, V., & Takano, S. (2009). Application of Combined SWOT and Analytic Hierarchy Process (AHP) for tourism revival strategic marketing planning: A case of Sri Lanka Tourism. Journal of the Eastern Asia Society for Transportation Studies, 8(1), 1-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-28