การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีศิลปะโดยใช้ทฤษฎีรสและ กระบวนการอ่านวิเคราะห์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะ และความผูกพันในการอ่านของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • พิณพนธ์ คงวิจิตต์ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอน, ทฤษฎีรส, กระบวนการอ่านวิเคราะห์, การอ่านทำนองเสนาะ, ความผูกพันในการอ่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีศิลปะโดยใช้ทฤษฎีรสและกระบวนการอ่านวิเคราะห์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะและความผูกพันในการอ่านของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรจำนวน 29 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลที่ได้จากแบบประเมินความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะและแบบประเมินความผูกพันในการอ่าน และใช้การทดสอบสถิติทีแบบ T-test dependent ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการสอนฯ มีองค์ประกอบ 4 ประการคือ 1.1) หลักการมี 4 ประการ 1.2) วัตถุประสงค์คือเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะและความผูกพันในการอ่าน 1.3) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี 6 ขั้น คือ 1.3.1) ขั้นเตรียมความพร้อมในการอ่านออกเสียง 1.3.2) ขั้นพิจารณาอารมณ์ของบทอ่าน 1.3.3) ขั้นวิเคราะห์บทอ่านเพื่อเลือกใช้ศิลปะการอ่าน 1.3.4) ขั้นฝึกอ่านออกเสียง 1.3.5) ขั้นสร้างสรรค์ผลงานการอ่านออกเสียง และ 1.3.6) ขั้นประเมินความสามารถในการอ่านออกเสียง และ 1.4) การวัดและประเมินผลโดย การใช้แบบประเมินความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะและแบบประเมินความผูกพันในการอ่าน 2) รูปแบบการสอนฯ สามารถพัฒนาความสามารถในการอ่านทำนองเสนาะของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตได้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) รูปแบบการสอนฯ สามารถพัฒนาความผูกพันในการอ่านของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตได้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กุสุมา รักษมณี. (2549). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการตำราภาษา-จารึก ลำดับที่ 1 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 12).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทา ขุนภักดี. (2537). ลักษณะเฉพาะของการอ่านทำนองเสนาะ (รายงานผลการวิจัย) (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บรรพต ศิริชัย. (2557). การสอนอ่านทำนองเสนาะในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบัน วัฒนธรรมและศิลปะ, 16(1), 93-104. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/30528/27117

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาสาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง. หน้า 12-39.

พ.ณ. ประมวญมารค. (2502). อ่านวรรณคดีด้วยหู ใน การประชุมวรรณคดีวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องลิลิตพระลอและกำสรวลศรีปราชญ์ (หน้า 1-25). พระนคร: แพร่พิทยา.

พรทิพย์ ศิริสมบูรณ์เวช. (2548). เสนาะทำนองครรลองวรรณกรรม: ศิลปะการอ่านสำหรับครูภาษาไทย (เอกสารประกอบการสอนวิชา 2701413 ศิลปะการอ่าน). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พินดา วราสุนันท์. (2558). การพัฒนาผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยเพื่อน. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(1), 33-40. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/99272/77147

สมพิศ คูศรีพิทักษ์. (2536). กระบวนการอ่านเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย หน่วยที่ 9-15 (พิมพ์ครั้งที่ 15, น. 626). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา, ท่านผู้หญิง. (2536). ในหลวงกับวัฒนธรรม ใน สดุดีบุคคลสำคัญ เล่ม 12 (หน้า 37-42). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

สิริอาภา รัชตะหิรัญ. (2548). ศิลปะการอ่าน (เอกสารประกอบการสอนวิชา 465141 ศิปะการอ่าน). นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

Adler, M. J., & Doren, C. V. (1972). How to read a book. New York: Simon and Schuster.

Caine, R. N., Caine, G., McClintic, C., & Klimek, K. J. (2009). 12 brain/mind learning principle in action (2nd ed.). California: Corwin.

Chaudhury, P. J. (1965). The theory of Rasa. The Journal of Aesthetics and Art Criticism, 24(1), 145-149. Retrieved from https://academic.oup.com/jaac/article-abstract/11/2/147/6331726?redirectedFrom =fulltext

Conley, K., Frees. M., & McCall. (2019). Foundation of analytical reading. Retrieved from http://fir.ferris.edu:8080/xmlui/bitstream/handle/2323/6229/OER%20TEXTBOOK%20READ%20175.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Higgins, K. M. (2021). An alchemy of emotion: Rasa and aesthetic breakthroughs. The Journal of Aesthetics and Art Criticism, 65(1), 43-54. Retrieved from https://academic.oup.com/jaac/article/65/1/43/5957636

Hildreth, G. (1958). Teaching reading. New York: Henry Holt and Company.

Ivey, G., & Johnston, P. H. (2015). Engaged reading as a collaborative transformative practice. Journal of Literacy Research, 47(3), 297-327. Retrieved from https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/1086296X15619731

Joyce, B, Weil, M., & Calhoun, E. (2009). Model of teaching (5thed.). Boston: Allyn and Bacon.

Mangattu, M. (2016). Bharata’s Rasa Sutra and the theory of Rasa Dhvani. In Conference: Indian Aesthetics for the Perplexed (pp.1-10). Kerala: St Antony's College.

Mucherah, M., Finch, H., & Smith, V. (2014). Exploring the relationship between classroom climate, reading motivation, and achievement: A look into 7th grade classrooms. International Journal of Learning, Teaching and Educational Research, 8(1), 93-110. Retrieved from https://www.ijlter.org/index.php/ijlter/article/view/166

Ochaba, K. (2021). Increasing student engagement with close-reading. Retrieved from https://www.hightechhigh.org/teachercenter/change-packages/increasing-student-engagement-with-close-reading/

Organization for Economic Cooperation and Development. (2018). PISA 2018 Reading frameworks. Retrieved from https://www.oecd-ilibrary.org/docserver/5c07e4f1en.pdf?expires=1620549374&id=id&accname=guest&checksum=E7620C79514C855A1F84F8E8CE5F7ADE.

Saylor, J. G., Alexander, W., & Lewis, A. (1981). Curriculum planning for better teaching and learning. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Shridevi, P. G. (2020). Bharata Muni’s concept of rasa. International Journal of Multidisciplinary Research, 6(2), 30-38. Retrieved from http://www.epitomejournals.com/VolumeArticles/FullTextPDF/443_Research_Paper.pdf

Sosothikul, R. (2007). How to improve your reading. Bangkok: Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25