การยอมรับเทคโนโลยีและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ภรญ์สุภัศศ์ สิริโชคโสภณ คณะบริหารธุรกิจและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • เอนก ชิตเกษร คณะบริหารธุรกิจและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจของผู้บริโภค, ธุรกิจบริการสั่งอาหารออนไลน์, ร้านอาหารออนไลน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีในการสั่งอาหารออนไลน์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยตัวอย่างคือผู้บริโภคที่อาศัยในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ที่เคยสั่งอาหารทางออนไลน์โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามแจกผ่านทางออนไลน์ จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Stepwise ผลการวิจัย พบว่า การยอมรับเทคโนโลยีในการสั่งอาหารออนไลน์โดยภาพรวมมีระดับการยอมรับอยู่ในระดับมากที่สุดและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยภาพรวมมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ส่วนการตัดสินใจ สั่งอาหารออนไลน์โดยภาพรวมมีความสำคัญระดับมาก นอกจากนี้ การตัดสินใจสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับการยอมรับเทคโนโลยีในการสั่งอาหารออนไลน์ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวได้แก่ การยอมรับเทคโนโลยีในการสั่งอาหารออนไลน์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคได้คิดเป็นร้อยละ 38.50 ธุรกิจหรือผู้ประกอบการควรพัฒนาคุณสมบัติของแอปพลิเคชันในการสั่งอาหารออนไลน์ร่วมกับการปรับปรุงปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและจำนวนของผู้บริโภคในการใช้บริการได้มากยิ่งขึ้น

References

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2549). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ครองช่าง.

ธีรศักดิ์ คำแก้ว. (2557). ความพึงพอใจของพนักงานที่ใช้แอปพลิเคชันสั่งสินค้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ: กรณีศึกษา ร้านโซล จังหวัดชลบุรี (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เมธาวัณน์ จันทมุณี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการด้านการสั่งอาหารผ่านทาง Mobile Application กรณีศึกษา : LINE MAN Application. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วีรวิทย์ พันธุรัตน์. (2562). การตัดสินใจเลือกใช้แอพพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์เดลิเวรี่ (Delivery) ของผู้บริโภคกลุ่มพนักงานออฟฟิศในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). หลังโควิด-19 ธุรกิจ Food Delivery ขยายตัวบนการแข่งขันที่ยิ่งรุนแรง ผู้ให้บริการ แพลตฟอร์มรุกไปสู่ Super Application. กระแสทรรศน์ , 3128.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร (แม่โจ้โพลล์). (2564). Food Delivery ..คนเชียงใหม่กับพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารที่เปลี่ยนไป. สืบค้นจาก http://www.maejopoll.mju.ac.th

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (FIC). (2562). ธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่ในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=269

สุฐิตา แก้วจรัส. (2559). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ Food Delivery ผ่าน LINE MAN ในจังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุดารัตน์ สิริมหาวงศ์, สุวนันท์ คงใหม่, และฐิติรัตน์ สำราญศาสตร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้ออาหารผ่านแอปพลิเคชัน LINE MANเขตพระโขนง ในกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ สังคมศาสตร์วิชาการครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย “สังคมพหุวัฒนธรรมภายใต้กระแสการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Thailand4.0”. เชียงราย.

สรพรร ภักดีศรี. (2556). การศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ผ่านเว็บของผู้เรียน. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 33(4), 28-29.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมออนไลน์เรื่องการใช้บริการ Online Food Delivery ของคนไทย ระหว่างวันที่ 5-15 มีนาคม 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

อลงกรณ์ วังขุนพรม, และ นารินี แสงสุข. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โมบายแอปพลิเคชันในการสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.

Hinkle, D. E, Willian, W., & Stephen G. J. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4thed.). New York: Houghton Mifflin.

Kotler, P. (2000). Marketing management. New Jersey: Prentice-Hall.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25