ความเครียดของนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
ความเครียด, นักศึกษาทันตแพทย์, มหาวิทยาลัยเอกชนบทคัดย่อ
ความเครียดเป็นปัญหาที่สำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตทันตแพทย์ ซึ่งมีทั้งเนื้อหาความรู้จากการเรียนบรรยาย การฝึกปฏิบัติการในห้องปฏิบัติทางทันตกรรมซึ่งเป็นงานฝีมือ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติในการให้การรักษาคนไข้จริงที่กระตุ้นในเกิดความเครียดได้มาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับความเครียดของนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง และ (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเครียดของนักศึกษาทันตแพทย์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบวัดความเครียดสวนปรุง (SPST-20) จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 578 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายการกระจายของข้อมูลทางประชากร คะแนนความเครียดและระดับความเครียด ตลอดจนเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความเครียดระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ด้วยสถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเครียดโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบมาตรอันดับ ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างมีความเครียดในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย=44.61, SD=0.71) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในตัวแปรคะแนนเฉลี่ยสะสม นอกจากนี้ยังพบว่าตัวอย่าง 56.23% มีความเครียดอยู่ในระดับสูงถึงระดับรุนแรง และจำนวนนักศึกษาทันตแพทย์ที่มีความเครียดในระดับสูงและระดับรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเมื่อนักศึกษาอยู่ในชั้นปีที่สูงขึ้น ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเครียดของนักศึกษาทันตแพทย์ พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญ คือ ช่วงชั้น (b = 0.153) และคะแนนเฉลี่ยสะสม (b = -0.285) โดยที่โมเดลมีค่า Log likelihood = -710.12612 Chi-square = 41.94 p<0.05 และ Pseudo R2 =0.0287
References
จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์, มัชฌิมา ดำมี, จันทร์จิรา นิ่มสุวรรณ, ชุติมา หมัดอะดัม, ศุภารัตน์ ละเอียดการ, และสุชาวดี โสภณ. (2559). ความเครียด การจัดการความเครียดและความต้องการความช่วยเหลือของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(3), 36-50.
จุฑารัตน์ สถิรปัญญา, และวิทยา เหมพันธ์. (2556). ความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(1), 42-58.
ณัฐวุธ แก้วสุทธา, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, และ วิกุล วิสาลเสสถ์. (2557). ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่สัมพันธ์ในนิสิตทันตแพทย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 6(11), 16-24.
ทันตแพทยสภา. (2537). พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537. สืบค้น 24 ธันวาคม 2564, https://dentalcouncil.or.th/pdf/porobo12.pdf
ทันตแพทยสภา. (2555). เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมของทันตแพทยสภา. สืบค้น 24 ธันวาคม 2564,จาก http://www.dentalcouncil.or.th/regulation/std_dent.pdf
ทันตแพทยสภา. (2559). ข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมในการสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2559. สืบค้น 24 ธันวาคม 2564, จาก https://cda.or.th/
ทันตแพทยสภา. (2560). เงื่อนไขในการรับรองผลการสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม. สืบค้น 24 ธันวาคม 2564, จาก https://dentalcouncil.or.th/Pages/Regulation
ทันตแพทยสภา. (2561). หลักเกณฑ์การพิจารณาเห็นชอบหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต และการรับรองสถาบันการศึกษาทันตแพทยศาสตร์. สืบค้น 24 ธันวาคม 2564, จาก https://dentalcouncil.or.th/Pages/Regulation
ปิยะพล ปราบชมภู, ศุภารัตน์ สกุลพานิช, ชนกานต์ ดวนใหญ่, ภัทรสุดา ฟองงาม, นลินี แข็งแอ, และ จิรวัฒน์ มูลศาสตร์. (2558). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาแพทย์ ชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. สรรพสิทธิเวชสาร, 36(2), 105-115.
พรสวรรค์ ธนธรวงศ์. (2554). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานต่อการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกของทันตแพทย์กลุ่มหนึ่ง. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 16(2), 9-23.
วัชรินทร์ จงกลสถิต. (2559). ทันตแพทยศาสตร์ของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ 3 สถาบัน. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์: ประชาคมอาเซียน โอกาสและความท้าทาย. กรุงเทพฯ: โรงแรมรอยัลริเวอร์.
วัชรินทร์ จงกลสถิต, และ พลภัทร จรัสชัยวรรณา. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตทันตแพทย์ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์: ศาสนากับการส่งเสริมความเป็นธรรมด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงแรม เอส ดี อเวนิว ปิ่นเกล้า.
วัชรินทร์ จงกลสถิต, พิณสุดา สิริธรังศรี, และสุวิมล ว่องวาณิช. (2560). คุณลักษณะบัณฑิตทันตแพทย์ที่พึงประสงค์ในประชาคมอาเซียน. สุทธิปริทัศน์, 31(98), 137-149.
วิลาวัลย์ วีระอาชากุล, และ วิบูลย์ วีระอาชากุล. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดในนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4-6 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(3), 11-20.
สภาการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการ. (2555). การศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภายใต้กรอบระชาคมอาเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). สืบค้น 24 ธันวาคม 2564, จาก https://dentalcouncil.or.th/Pages/Regulation
Acharya, S. (2003). Factors affecting stress among Indian dental students. J Dent Educ, 67(10), 1140-1148. Retrieved from http://www.jdentaled.org/content/jde/67/10/1140.full.pdf
Al-Omari, W. M. (2005). Perceived sources of stress within a dental educational environment. J Contemp Dent Pract, 6(4), 64-74.
Alhajj, M. N., Khader, Y., Murad, A. H., Celebic, A., Halboub, E., Márquez, J. R., . . . Al-Basmi, A. A. (2018). Perceived sources of stress amongst dental students: A multicountry study. European Journal of Dental Education, 22(4), 258-271. doi:10.1111/eje.12350
Alzahem, A. M., van der Molen, H. T., Alaujan, A. H., Schmidt, H. G., & Zamakhshary, M. H. (2011). Stress amongst dental students: a systematic review. European Journal of Dental Education, 15(1), 8-18. doi:10.1111/j.1600-0579.2010.00640.x
Atkinson, J. M., Millar, K., Kay, E. J., & Blinkhorn, A. S. (1991). Stress in dental practice. Dent Update, 18(2), 60-64.
Cecchini, J. J., & Friedman, N. (1987). First-year dental students: relationship between stress and performance. Int J Psychosom, 34(3), 17-19.
Elani, H. W., Allison, P. J., Kumar, R. A., Mancini, L., Lambrou, A., & Bedos, C. (2014). A Systematic Review of Stress in Dental Students. J Dent Educ, 78(2), 226-242. Retrieved from http://www.jdentaled.org/content/jde/78/2/226.full.pdf
Fonseca, J., Divaris, K., Villalba, S., Pizarro, S., Fernandez, M., Codjambassis, A., . . . Polychronopoulou, A. (2013). Perceived sources of stress amongst Chilean and Argentinean dental students. European Journal of Dental Education, 17(1), 30-38. doi:10.1111/eje.12004
Jiménez-Ortiz, J., Islas-Valle, R., J., Pérez-Lizárraga, E., Hernández-García, M., & González-Salazar, F. (2019). Emotional exhaustion, burnout, and perceived stress in dental students. Journal of International Medical Research, 47(9), 4251-4259. doi:10.1177/0300060519859145
Komabayashi, T., Srisilapanan, P., Korwanich, N., & Bird, W. F. (2007). Education of dentists in Thailand. Int Dent J, 57(4), 274-278. doi:10.1111/j.1875-595X.2007.tb00132.x
Mahatnirunkun, S., Phumphaisarnchai W., & Tapanya P. (1998). The construct of Suan Prung stress test for Thai Population. Suan Prung Journal, 13(3), 1-20.
Mingprasert A., & Sheng K. D. (2014). A study of mental health and the stress of undergraduate students in Faculty of Pharmacy at Rangsit University. Journal of Social Sciences and Humanities, 40(2), 211-227.
Ranasinghe, P., Wathurapatha, W. S., Mathangasinghe, Y., & Ponnamperuma, G. (2017). Emotional intelligence, perceived stress and academic performance of Sri Lankan medical undergraduates. BMC Med Educ, 17(1), 41. doi:10.1186/s12909-017-0884-5
Schmitter, M., Liedl, M., Beck, J., & Rammelsberg, P. (2008). Chronic stress in medical and dental education. Med Teach, 30(1), 97-99. doi:10.1080/01421590701769571
Tedesco, L. A. (1986). A psychosocial perspective on the dental educational experience and student performance. J Dent Educ, 50(10), 601-605.
Untaaveesup, S., Tiawwanakul, T., Somapee, W., & Tienkreua, C. (2021). Prevalence and factors associated with stress in medical students at Ratchaburi Medical Education Center, Ratchaburi Hospital. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 66(2), 159-172. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPAT/article/view/247232
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). NY: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น