ประเด็นเรื่องความตายที่ควรเรียนรู้ในมุมมองของนิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์ สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เรื่องความตาย, มรณศึกษา, การตายอย่างมีคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาประเด็นเรื่องความตายที่ควรเรียนรู้ในมุมมองของนิสิตปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชามรณศึกษา (Death Education) และรายวิชาการตายอย่างมีคุณภาพ (Beautiful Death) โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนิสิตที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2561 จำนวน 103 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ประเด็นเรื่องความตายที่ควรเรียนรู้ในมุมมองของนิสิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกประเด็น นิสิตให้ความสนใจในประเด็นเรื่องความตายที่ควรเรียนรู้ 3 อันดับแรก คือ ทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องความตาย (ค่าเฉลี่ย 4.40) การจัดการกับอารมณ์ในเรื่องความตาย (ค่าเฉลี่ย 4.39) และทัศนคติเกี่ยวกับภาวะใกล้ตาย (ค่าเฉลี่ย 4.35) การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า นิสิตให้ความสนใจและเล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้เรื่องความตายซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยทำให้เกิดความตระหนักรู้เรื่องความตายและส่งผลต่อการยอมรับความตายได้ดีขึ้นในอนาคต ดังนั้น ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่องความตายให้เหมาะสม เพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้สูงสุด ตลอดจน
เป็นการสร้างความตระหนักรู้เรื่องความตายให้เพิ่มขึ้นในสังคมวงกว้างต่อไป

References

ธารินทร์ เพ็ญวรรณ, ฐนิดา อภิชนะกุลชัย, และเอกภพ สิทธิวรรณธนะ. (2562). การวิเคราะห์เนื้อหาการใช้เกมไพ่ไขชีวิตในการสร้างความตระหนักเรื่องความตายในประเทศไทย. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 19(2), 396-406.

นพพล วิทย์วรพงศ์. (2563). การตัดสินใจในระยะท้ายของชีวิตกับสังคมไทย: บทเรียนจากประสบการณ์ของต่างประเทศ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์. (2561). “บ้าน” สุดท้ายของชีวิต: มุมมองเชิงสังคมวิทยาต่อการบริบาลคุณภาพชีวิตระยะท้าย: The sociology of illness, dying and death (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

มัญชุมาส มัญจาวงษ์, และปณิตา ลิมปะวัฒนะ. (2561). การตายดี วิถีที่เลือกได้. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(1), 20-26.

ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร. (2561). การยอมรับความตาย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 62(5), 761-772.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2553). การจัดการเรียนรู้มรณศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 38(3), 16-26.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้มรณศึกษาเพื่อสร้างเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา. วารสารสุขศึกษา, 35(120), 31-42.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2558ก). การวิจัยพัฒนาโมเดลเลิฟเพื่อสร้างเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์: ชุดโครงการวิจัยสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 28(2), 119-152.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2558ข). มรณศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2563). มรณศึกษา: มิติหนึ่งทางสุขศึกษา. ใน สุรภี รุโจปการ (บ.ก.), ศาสตร์ สอน สื่อ สุข. (หน้า 135-146). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Corr, C. A., Corr, D. M., & Doka, K. J. (2018). Death & dying, life and living (8th ed.). Wadsworth: Cengage learning.

Daaleman, T. P., & Dobbs, D. (2010). Religiosity, spirituality, and death attitudes in chronically ill older adults. Research on Aging, 32(2), 224-243.

Durlak, J. A., & Kass, R. A. (1982). Clarifying the measurement of death attitudes: A factor analytic evaluation of fifteen self-report death scales. OMEGA - Journal of Death and Dying, 12(2), 129-141.

Eddy, J. M., & Alles, W. F. (1983). Death education. Missouri: The C.V. Mosby Company.

Fulton, R., Markusen, E., Owen, G., & Scheiber, J. L. (1981). Death and dying: Challenge and change. San Francisco: Boyd & Fraser publishing company.

Granda-Cameron, C., & Houldin, A. (2012). Concept analysis of good death in terminally ill patients. American Journal of Hospices and Palliative Medicine, 29(8), 632-639.

Harding, S. R., Flannelly, K. J., Weaver, A. J., & Costa, K. G. (2005). The influence of religion on death anxiety and death acceptance. Mental Health, Religion & Culture, 8(4), 253-261.

Harris, W. H. (1978). Some reflections concerning approaches to death education. Journal of School Health, 48(3), 162-165.

Hinton, J. (1999). The progress of awareness and acceptance of dying assessed in cancer patients and their caring relatives. Palliative medicine, 13(1), 19-35.

Pinquart, M., Fröhlich, C., Silbereisen, R. K., & Wedding, U. (2006). Death acceptance in cancer patients. OMEGA-Journal of Death and Dying, 52(3), 217-235.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25