การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการโรงพยาบาลรัฐแบบ พรีเมี่ยมและโรงพยาบาลเอกชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
คำสำคัญ:
โรงพยาบาล, การตัดสินใจ, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, ปัจจัยภายนอกบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์, ปัจจัยภายนอก, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการโรงพยาบาลรัฐแบบพรีเมี่ยมและโรงพยาบาลเอกชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับความถี่ในการเข้ารับบริการและค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีระเบียบวิธีการวิจัยที่อยู่ในรูปแบบเชิงสำรวจ และใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน พร้อมนำเสนอผลการวิจัย ในรูปแบบผลการวิเคราะห์เชิงสถิติ ในรูปแบบการบรรยาย และตารางสรุปข้อมูล โดยผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็น เพศชาย มีอายุ 51 – 60 ปี ประกอบอาชีพ ราชการ/รัฐวิสาหกิจ/พนักงานของรัฐ มีรายได้เฉลี่ย 30,001 – 50,000 บาท กับ 70,001 บาท ขึ้นไป มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีสถานภาพสมรสแล้ว ในส่วนของการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ในด้านเพศ (Sig = 0.020), อายุ (Sig = 0.003), อาชีพ (Sig = 0.000) และระดับการศึกษา (Sig = 0.014) มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกประเภทของโรงพยาบาลที่เข้ารับบริการที่ระดับ 0.05 ปัจจัยภายนอก พบว่า จำนวนสมาชิกในครอบครัว (Sig = 0.038), ลักษณะของครอบครัว (Sig = 0.000) และคุณลักษณะของกลุ่มอ้างอิง (Sig = 0.009) มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกประเภทของโรงพยาบาลที่เข้ารับบริการที่ระดับ 0.05 และในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ผลิตภัณฑ์และการบริการตามความต้องการของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกประเภทของโรงพยาบาลที่เข้ารับบริการที่ระดับ 0.05 (Sig = 0.015) และความสะดวกสบายในการเข้ารับบริการ มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการเข้ารับบริการที่ระดับ 0.05 (Sig = 0.033)
References
ผ่องพิมล พิจารณ์สรรค์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
พิเชฐ บัญญัติ. (15 กุมภาพันธ์ 2549). องค์ประกอบของบริการ. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/15622
ยุทธนา ธรรมเจริญ, เสาวภา มีถาวรกุล, อัจฉรีย์ ลิมปมนต์, ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกล, เชาว์ โรจนแสง, และ วุฒิชาติ สุนทรสมัย,. (2558). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค: Consumer behavior analysis:เอกสารการสอนชุดวิชา [ล. 1] หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วิญญ์ชยานันต์ วัชรานันทกุล. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลมิชชั่นภูเก็ต. ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 "มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม", หน้า 901 - 914.
ศากุน บุญอิต. (2553). การบริหารการบริการ: กลยุทธ์และการปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2537). การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.เอ็ม.เซอร์คิทเพรส.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สสวท. (4 มกราคม 2563). สื่อวีดิทัศน์. สืบค้นจาก http://designtechnology.ipst.ac.th/
Kotler, P. (2000). Marketing management: The millennium edition. Upper Saddle River, New Jersey: Person Prentice Hall.
Solomon, M. R. (2009). Consumer behavior: Buying, having, and being. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น