การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนที่มีคำว่า“虎”กับสำนวนไทยที่มีคำว่า “เสือ”
คำสำคัญ:
การศึกษาเปรียบเทียบ, สำนวนไทย, สำนวนจีน, เสือ, ประเภทบทคัดย่อ
การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนที่มีคำว่า“虎”กับสำนวนไทยที่มีคำว่า “เสือ” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายและแบ่งประเภทโดยยึดจากความหมายของสำนวน 2) เปรียบเทียบความเหมือนของสำนวนที่มีคำว่า “เสือ” ของทั้ง 2 ภาษา ผู้วิจัยได้รวบรวมสำนวนจีน 97 สำนวน และสำนวนไทย 26 สำนวน ซึ่งเอกสารเกี่ยวกับสำนวนจีนและสำนวนไทยที่ผู้วิจัยนำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูล ได้แก่ หนังสือพจนานุกรมสำนวนจีน จำนวน 2 เล่ม หนังสือพจนานุกรมสำนวนไทย จำนวน 1 เล่ม และข้อมูลจากเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน จำนวน 1 เว็บไซต์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเภทของสำนวนจีนที่มีคำว่า“虎”กับสำนวนไทยที่มีคำว่า “เสือ” มีความคล้ายคลึงกันถึง 6 ประเภท ได้แก่ สำนวนที่เกี่ยวกับความรู้สึก จิตใจ สำนวนที่เกี่ยวกับความเสี่ยง สำนวนที่เกี่ยวกับการอบรมสั่งสอน สำนวนที่เกี่ยวกับการยอมจำนน สำนวนที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและลักษณะนิสัย และสำนวนที่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ 2) คำว่า“虎”ในสำนวนจีนส่วนใหญ่จะสื่อความหมายเกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ถึง 29 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 29.9 ใช้เปรียบถึงการกระทำที่รุนแรงของมนุษย์ ส่วนคำว่า “เสือ” ในสำนวนไทยส่วนใหญ่จะสื่อถึงเรื่องการอบรมสั่งสอน จำนวน 5 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 19.2 และเรื่องความเสี่ยง จำนวน 5 สำนวน คิดเป็นร้อยละ 19.2 ใช้สื่อถึงการตักเตือน และการเผชิญอันตราย เป็นต้น และ 3) สำนวนจีนกับสำนวนไทยที่มีคำว่าเสือของทั้ง 2 ภาษาที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน สามารถใช้สื่อความหมายในมุมมองที่เหมือนกันของชาวจีนและชาวไทยที่มีต่อเสือทั้งในแง่บวกและแง่ลบได้
References
ซินแสหลัว. (2556). เสือกับจีน. สืบค้น 5 ตุลาคม 2564, จาก https://www.chinese-horo.com/เสือกับจีน/356/
ไทยรัฐออนไลน์. (2558). รวมอิทธิฤทธิ์ ขุนโจรพันธุ์เสือ ตำนานโรบินฮู้ดเมืองไทย. สืบค้น 10 กันยายน 2564, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/501288
พิริยา สุรขจร. (2544). สำนวนจีนและสำนวนไทยที่มีคำเกี่ยวกับสัตว์: การศึกษาเปรียบเทียบ (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9609
ภูริช วรรธโนรมณ์. (2563). สำรวจพฤติกรรมการหากินของ ‘เจ้าป่า’ แห่งพงไพร: เสือโคร่ง นักล่าผู้รักความสันโดษ. สืบค้น 10 กันยายน 2564, จาก https://www.seub.or.th/bloging/into-the-wild/สำรวจพฤติกรรมการหากินข/
ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้น 25 สิงหาคม 2564, จาก https://dictionary.orst.go.th/index.php
สง่า กาญจนาคพันธุ์. (2541). สำนวนไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
WWF-Thailand. (2019). ทำไมเสือจึงถูกผูกกับความเชื่อ. Retrieved September 8, 2021, from https://www.wwf.or.th/?356065/
成语大词典编委会.(2020).《成语大词典》.(第二版).北京:商务印书馆国际有限公司.
说词解字辞书研究中心编著.(2019).《彩图版小学生成语词典》.北京:华语教学出版社.
中国社会科学院.(2016).《现代汉语词典》.北京:商务印书馆.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น