ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม: ภาพสะท้อนการถูกกดทับจากการเรียนรู้ทางสังคม

ผู้แต่ง

  • กนกพร กลิ่นดอกแก้ว วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม, การกดทับ, การผลิตซ้ำ, การเรียนรู้ทางสังคม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของปรากฏการณ์ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่เป็นผลมาจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นภายในสังคมไทย และถูกส่งต่อกันมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยใช้วิธีการสังเคราะห์และวิเคราะห์รูปแบบของความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่ปรากฏผ่านงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบของความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น รวมไปถึงเพื่อนำเสนอให้เห็นถึงการกดทับกลุ่มบุคคล หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ถูกเอารัดเอาเปรียบในสังคมจากความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมดังกล่าว อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ถึงการถ่ายทอดพฤติกรรมความรุนแรงที่ถูกส่งผ่านกันมา โดยมีการใช้แนวคิดแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งในการส่งต่อความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมมายังยุคปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการกระทำความรุนแรงที่เกิดขึ้นมีการถ่ายทอดมาอย่างไร ที่ส่งผลทำให้ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมนั้น ๆ ยังคงถูกผลิตซ้ำอยู่ในสังคม

References

กฤษฎา บุญชัย. (2553). ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2533). ท้าทายทางเลือก: ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2539). สันติทฤษฎี วิถีวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2553). ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

ดนยา สุเวทเวทิน. (2562, 24 เมษายน). เปิด ‘กฎหมายครอบครัว’ ฉบับใหม่ มิติใหม่ใส่ใจครอบครัว-เหยื่อความรุนแรง. มติชน. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.matichon.co.th/local/news_1463728

นัฐวุฒิ สิงห์กุล. (2556). ความรู้และอำนาจ : ภาพสะท้อนความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมในระบบสุขภาพไทย ศึกษาผ่านกรณี ผู้ติดเชื้อ แรงงานข้ามชาติและชาวนาอีสานในสังคมไทย. สืบค้น 9 ตุลาคม 2564, จาก http://nattawutsingh.blogspot.com/2013/03/blog-post.html

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2549). วัฒนธรรม คนอย่าง ทักษิณ: รวมบทความสะท้อนความคิดเกาะติดเนื้อร้ายแห่ง วัฒนธรรมที่กำลังลุกลาม. กรุงเทพฯ: มติชน.

เพ็ญจันทร์ ประดับมุข เชอร์เรอร์, โมเช่ เชอร์เรอร์, มัลลิกา มัติโก, เสาวคนธ์ พีระพันธ์, ปนัดดา ชำนาญสุข, กฤตยา แสวงเจริญ,...รยากร งามดี. (2551). มิติทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความรุนแรงในเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภูเก็ต คังคายะ. (2559). วิถีนักบิด เวทีชีวิตแห่งความรุนแรง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนัท สูงประสิทธิ์. (2560). อิทธิพลครอบครัว ที่ส่งผลต่อตัวเด็กโดยตรง. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2554). รายงานสุขภาพคนไทย พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

มหิดลวิทยานุสรณ์. (ม.ป.ป.). มนุษย์และสังคม โครงสร้างทางสังคม สถาบันทางสังคม. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://social.mwit.ac.th/files/60_1_doc_s30103_2.pdf

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: นามมีบุ๊คส์.

วราภรณ์ มนต์ไตรเวศย์. (2556). แรงงานต่างด้าวในภาคประมงกับความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย. (2563). ภูมิหลังการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงของประชากรกลุ่มตัวอย่างอายุ 18-29 ปี (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สนธยา พลศรี. (2545). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เยาวชนหญิงถูกไล่ออกจากบ้าน เหตุร่วมม็อบ น้ำตาคลอ วอนสถาบันครอบครัวโอบกอดเด็กคิดต่าง. (2563, 27 พฤศจิกายน). มติชน. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2461905

สิริภิญญ์ อินทรประเสริฐ. (2556). อิทธิพลของสื่อที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุขุมา อรุณจิต. (2561). ความรุนแรงทางเพศ: บทสะท้อนความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ. ใน รายงานสืบเนื่องการสัมมนาวิชาการเนื่องในโอกาสการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. ปีที่ 65.

สุดสงวน สุธีสร. (2540). ความรุนแรงในครอบครัว กรณีการประทุษร้ายทางร่างกาย และทางเพศต่อเด็กในสังคมไทย.กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพัตรา สุภาพ. (2536). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (ม.ป.ป.). สถานการณ์ปัญหาและสาเหตุของปัญหาความไม่เสมอภาคระหว่างหญิงชายของประเทศไทย: ทำไมจึงต้องมีการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565, จาก: https://www.dcy.go.th/woman_man/data/278.pdf

อังคณา ช่วยค้ำชู. (2555). ความรุนแรงในครอบครัว: สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการช่วยเหลือ. วารสารธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 55(31), 130-145.

อุษณีย์ ธโนศวรรย์, และ ศรีชัย พรประชาธรรม. (2553). ความรุนแรงซ่อน/หาสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Charon, J. M. (1992). Sociology: A concept approach (3rd ed.). USA.: A Devision of Simon and Schuter.

Galtung, J. (1990). Cultural violence Johan Galtung College of social sciences, University of Hawaii, Manoa. Journal of Peach Research, 27(3), 291-305.

Miller, A. (1987). For your own good ใน Harber, Clive. Schooling as Violence How schools harm pupils and societies, 39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-30