ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่จากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
แอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่, ร้านสะดวกซื้อ, ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อสินค้า, กรุงเทพมหานครและปริมณฑลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาอิทธิพลของเพศที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่จากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร 2. เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่จากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (อายุ การศึกษา อาชีพ สถานภาพ และรายได้ต่อเดือน) 3. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่จากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่จากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน 2564 กำหนดขนาดตัวอย่าง 400 คน การวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างใช้สถิตเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติทดสอบสมมติฐานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ Independent Sample t-Test, One way ANOVA (F-test), Pearson’s Correlation Coefficient, และ Multiple Linear Regression Analysis
ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 26 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นนักศึกษา และมีรายได้อยู่ระหว่าง 10,001 – 20,000 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่จากร้านสะดวกซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนการศึกษาความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่จากร้านสะดวกซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดย เรียงจากลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้คือ ผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย บุคคล ลักษณะทางกายภาพ และกระบวนการ และพบว่า ตัวแปรดังกล่าวสามารถทำนายการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านแอพพลิเคชั่นเดลิเวอรี่จากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร ได้ถูกต้อง ร้อยละ 53.70
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิดาภา ธัญญรัตนวานิช. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(58), 13-24. สืบค้นจากhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/59056/48652
ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นฤวรรณ ตั้งกิจทนงศักดิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชั่นของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
ปราณี มีหาญพงษ์, และ กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2561). การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 9-15. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/121885/92855
เปรมกมล หงษ์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่ : Marketing Management. กรุงเทพฯ : Diamond In Business World.
ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2564). แนวโน้มธุรกิจออนไลน์ ปี 2562-2563. สืบค้น 10 เมษายน 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). เทรนด์การเติบโตของธุรกิจ Food delivery เดลิเวอรี่ออนไลน์. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2564, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/ Pages/ food-delivery-z3256.aspx
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.). (2563). สำรวจพฤติกรรมทางออนไลน์ เรื่องการใช้บริการ Online food delivery ของคนไทยท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. สืบค้น 10 เมษายน 2564, จาก www.etda.or.th th/https/www-etda-or-th/th/newsevents/pr-news/Online-Food-Delivery-Survey-2020
สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานปลัด. (2564). สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. สืบค้น 10 เมษายน 2564, จาก https://www.egov.go.th/th/government-agency/208/
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2563). สัดส่วนกลุ่มตัวอย่างร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 10 เมษายน 2564, จาก http://www.bangkok.go.th/pipd/
สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักกการตลาดเพื่อผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.) New York: John Wiley.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Principles of marketing. Sydney: Pearson Prentice Hall.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). New Jersey Prentice-Hall.
Yuniarti. (2016). Influence of product quality, price and trust on fashion product purchase. decisions online. Jambi University Research Journal Humanities Series, 18(1).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น