ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า จากเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อัญชลี สิทธิสังข์ สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สายพิณ ปั้นทอง สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การตัดสินใจซื้อ, เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (Vending Machine) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าจากเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยการใช้สถิติ t-Test ,F-test การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 39-45 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้ 20,001-30,000 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อาชีพ และรายได้ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ (Vending Machine) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ในส่วนของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (0.000***) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (0.003**) ด้านลักษณะทางกายภาพ (0.000***) และด้านกระบวนการ (0.041*) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าอิทธิพลพยากรณ์ความมีประสิทธิภาพได้ร้อยละ 60.70

References

กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2563). สถิติกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 10 เมษายน 2564, จาก http://webportal.bangkok.go.th/pipd

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัย แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2563). การตลาดการบริการ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

พิมพ์นิภา กิตติวุฒิดำรงชัย. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการตู้เติมเงินอัตโนมัติบุญเติมกรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561).หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ร่มธรรม วาสประสงค์. (2553). แนวโน้มพฤติกรรมการซื้อเครื่องจากเครื่องขายอัตโนมัติ (Vending Machine) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่ ฉบับปรับปรุงใหม่ 2560. กรุงเทพฯ : Diamond In Business World.

ศูนย์วิจัยกรุงศรี (2563). แนวโน้มธุรกิจออนไลน์ ปี 2561-2562. สืบค้น 10 เมษายน 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/

ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน (2563). ธุรกิจค้าปลีกปี 2563 หดตัวรับผลกระทบ Covid-19. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.gsbresear.or.th/wp-content/uploads/2020/05

สโรบล สุภรณ์ไพบูลย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านเครื่องขายอัตโนมัติในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล). มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักการตลาดเพื่อผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley.

Marketingoop. (2562). กิจกรรมที่คนไทยขี้เกียจมากที่สุด. สืบค้น 10 มิถุนายน 2564, จาก https://www.marketingoops.com/ tag/%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2562/

Smart SME. (2563). การปรับตัวของธุรกิจค้าปลีกในสังคมปัจจุบัน. สืบค้น 10 มิถุนายน 2564, จาก https://www.smartsme.co.th/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-30