การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการจัดการโลจิสติกส์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กรณีศึกษาบริษัท XYZ

ผู้แต่ง

  • คุณากร วิวัฒนากรวงศ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วริศ ลิ้มลาวัลย์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • รชฏ ขำบุญ Center of Supply Chain and Logistics มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ธนรัตน์ บาลทิพย์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การจัดการโลจิสติกส์, ระบบธุรกิจอัจฉริยะ, ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและรูปแบบข้อมูลในการจัดการโลจิสติกส์ กรณีศึกษาบริษัท XYZ และเพื่อพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะสนับสนุนการจัดการโลจิสติกส์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ด้วยเครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะกูเกิล ดาต้า สตูดิโอ จากการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล โดยการสุ่มแบบเจาะจง จากผู้จัดการทั่วไป ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด และผู้จัดการฝ่ายโลจิสติกส์ จำนวน 4 ตัวอย่าง และการสังเกตการณ์พฤติกรรมระหว่างการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลระเบียนรายงานผลการดำเนินงานและการจัดการโลจิสติกส์เดิม ตั้งแต่วันที่ 1-31 ธันวาคม พ.ศ.2564 จากการศึกษาพบว่า ผลการทดสอบประสิทธิภาพระบบมีคะแนนเฉลี่ย 4.10 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 แสดงว่า ระบบได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้งานในระดับมาก ควบคู่กับการพิจารณาใน 3 มุมมอง คือ (1) ด้านกระบวนการทำงาน สามารถลดเวลาการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานการจัดการโลจิสติกส์ของพนักงาน จากเดิม 90 นาที เหลือ 10 นาทีต่อวัน ลดลง 88.89% ของเวลาการทำงานเดิม (2) ด้านความพึงพอใจ พบว่า ด้านความสะดวกและความง่ายดายในการใช้งานเพิ่มขึ้น 51.42% เมื่อเทียบกับการจัดทำรายงานแบบเดิม, ด้านระยะเวลาทำรายงานเพิ่มขึ้น 51.19%, ด้านความพึงพอใจโดยรวมเพิ่มขึ้น 50.98%, ด้านความถูกต้องของข้อมูลเพิ่มขึ้น 48.65% และด้านการตอบสนองของระบบเพิ่มขึ้น 46.08% (3) ด้านต้นทุน คำนวณค่าเสียโอกาสในรูปแบบการทำงานเดิม ทั้งสิ้น 36,562.50 บาท/ปี ในขณะที่ระบบใหม่มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 2,500 บาท/ปี คิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 14.63 ดังนั้น บริษัทได้รับอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเป็นจำนวนเงิน 34,062.50 บาท แสดงว่า ระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการจัดการโลจิสติกส์มีความเหมาะสมที่จะลงทุน

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร.

ชณุตพร ศรีชัย. (2555). สภาพแวดล้อมขององค์การที่มีอิทธิพลต่อการใช้ Business Intelligence ของ SMEs ใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: สถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ธุรกิจไทยปรับตัวอย่างไร ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก. BOT พระสยาม MAGAZINE, 63(1), 8-11. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256301Conversation.aspx

เผชิญ อุปนันท์. (2560). การบริหารความเสี่ยงองค์กร: Enterprise risk management. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/risk_mgt/th/article/03202017-1523

วิจิตรา พัชรกำจายกุล, และ นิเวศ จิระวิชิตชัย. (2558). การพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะเพื่อการวางแผนการขายสินค้าสำหรับบริษัทผู้จัดจำหน่าย. Progress in Applied Science and Technology, 5(2), 155-164.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมธุรกิจ SMEs ที่มีการเติบโตสูงใน ประเทศไทย (SME High Growth Sectors). สืบค้น 23 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://bit.ly/3QphPG9

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2565, จาก http://nscr.nesdc.go.th/master-plans/

Chaudhuri, S., Dayal, U., & Narasayya, V. (2011). An overview of business intelligence technology. Communications of the ACM, 54(8), 88-98.

Copacino, W. C. (2019). Supply chain management: The basics and beyond. Routledge.

Gartner. (2015). Gartner's 2015 hype cycle for emerging technologies identifies the computing innovations that organizations should monitor. Retrieved May 30, 2022, from https://gtnr.it/3TzGTNk

Harrison, A., Skipworth, H., van Hoek, R. I., & Aitken, J. (2019). Logistics management and strategy: Competing through the supply chain. UK: Pearson.

Iseminger, D. (2016). Microsoft power Bl. Retrieved May 30, 2022, from https://www.powerbi.microsoft.com/en-us/what-is-power-bi/

Ranjan, J. (2009). Business intelligence: Concepts, components, techniques and benefits. Journal of theoretical and applied information technology, 9(1), 60-70.

Srinivasa Rao, P., & Swarup, S. (2001). Business intelligence and logistics. Wipro Technologies.

Stavrulaki, E., & Davis, M. (2010). Aligning products with supply chain processes and strategy. The International Journal of Logistics Management, 21(1), 127–151.

Turban, E., Aronson, J. E., Liang, T., & Sharda, R. (2007). Decision support system and business intelligence (8th ed.). Prentice Hall, Pearson Education International.

Vagias, W. M. (2006). Likert-type scale response anchors. Clemson International Institute for Tourism & Research Development, Department of Parks, Recreation and Tourism Management. Clemson University.

Wang, J., & Wang, S. (Eds.). (2010). Business intelligence in economic forecasting: Technologies and techniques. IGI Global.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29