อิทธิพลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจของนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • อิสามะแอ สะแม สาขาการจัดการการค้าธุรกิจสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สายพิณ ปั้นทอง สาขาการจัดการการค้าธุรกิจสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ทีอิทธิพล, มหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ , สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจของนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต่างกัน และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจของนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต่างกัน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลลใช้สถิตเชิงพรรณนา โดยค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของ 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไปเป็นการทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และรายได้เฉลี่ยของครอบครัว มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจของนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย  แห่งองค์กรธุรกิจของนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการศึกษา ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านนวัตกรรมความสำเร็จ ด้านหลักสูตรการเรียน ด้านช่องทางการศึกษา ด้านบุคคลากรทางการศึกษา ด้านการสร้างอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ค่าอิทธิพลมีประสิทธิภาพ 89.50%

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัย แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐธนนท์ อ่อนชื่น, และสายพิณ ปั้นทอง. (2564). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสถานศึกษาเอกชนในระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ของผู้ปกครองในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11(3), 63-77. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/249802/173852

ภัทรสุดา จารุธีรพันธุ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนสาขาวิชาในระดับปริญญาตรีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 10(32), 35-46. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/80128/63887

เรวัต ตันตยานนท์. (2563). ปัจจัยของความสำเร็จของกิจการ. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศักรินทร์ ชนประชา. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสื่อทำมือสำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ในโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขตพื้นที่เกาะจังหวัดสตูล. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(17), 155-171. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HIKMAH/article/view/137660/148323

Agrey, L., & Lampadan, N. (2014). Determinant factors contributing to student choice in selecting a university. Journal of Education and Human Development, 3(2), 391-404. Retrieved from http://jehdnet.com/journals/jehd/Vol_3_No_2_June_2014/22.pdf

Allen, M. (1999). Assessing effectiveness in four corporate universities (Doctoral Dissertation). University of Southern California.

Enache, I. C. (2011). Marketing higher education using the 7 Ps framework. Bulletin of the Transilvania University of Braşov, 4(53), 23-30. Retrieved from https://www.academia.edu/9195152/MARKETING_HIGHER_EDUCATION_USING_THE_7_PS_FRAMEWORK

Kotler, P. (2016). Marketing management. New Jersey: Pearson Education.

Kotler, P., & Keller, K. P. (2018). Marketing management. Pearson Prentice Hall.

Meister. (1998). แนวคิดที่เกี่ยวกับการทำความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาเข้ากับกับการทำงานของบริษัท. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2564, จาก https://acsjournals.onlinelibrary.wiley.com/doi/full/

Sankham, S., & Hamra, W. A. (2016). Factors affecting student decisions to study at Asia-Pacific International University. Catalyst, 13(1), 4-14.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. (2010). Consumer behavior (10th ed.). Upper Saddle River, N.J.: Prentice-Hall.

Yenida, Y. (2017). Analisis pengaruh strategi bauran pemasaran, sistem pendidikan perguruan tinggi, status akreditasi terhadap keputusan mahasiwa dalam memilih jurusan administrasi niaga politeknik negeri padang. Manajemen Dan Kewirausahaan, 5(1), 12-22. Retrieved from https://ojs.unitas-pdg.ac.id/index.php/manajemen/article/view/178

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29