อิทธิพลของความรับผิดชอบต่อสังคมและภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • โสรยา สุภาผล คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ลัดดาวัลย์ สำราญ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบต่อสังคม, ภาพลักษณ์องค์กร, ความพึงพอใจ, รัฐวิสาหกิจ, สุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ภาพลักษณ์องค์กร และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กรของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อศึกษาภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม ภาพลักษณ์องค์กร และความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ ด้านความโปร่งใส ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสำคัญ ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กรของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี มีอำนาจการทำนายร้อยละ 41.40 และภาพลักษณ์องค์กร ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ และด้านสถาบันหรือองค์กร ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี มีอำนาจการทำนายร้อยละ 40.40 อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิติวัฒน์ ธชีพันธ์. (2556). กิจกรรมความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของผู้ใช้บริการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตเทศบาลนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://www.sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/12403?attempt=2&

ธเนศ ศิริกิจ. (2557, 8 กรกฏาคม). สร้างตรายี่ห้อให้โดนใจต้องมี Quality บวก Story ด้วย. Positioning. https://positioningmag.com/58090

ธันวา สุวรรณเวช. (2559). อิทธิพลของความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อภาพลักษณ์องค์กร และความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของอุตสาหกรรมรังนก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. สืบค้นจาก https://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/3598/BUS_61_03.pdf?sequence=1&isAllowed=y

เธียรทศ ประพฤติชอบ. (2559). ภาพลักษณ์ชื่อเสียง: งานเบื้องหลัง ทรงพลังเกินคาดคิด. TPA News, 20(236), 9-10. สืบค้นจาก https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/111/ContentFile2182.pdf

น้ำผึ้ง ไชยทัศน์, สมบัติ ธำรสินถาวร, และอารีรัตน์ ลีฬหะพันธุ์. (2564). การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรที่มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง: บทบาทของตัวแปรการเป็นน้ำหนึ่งใจดียวกัน. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(1), 51-74. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/240569/169035

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2555). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการสารสนเทศของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยเทคมหาสารคาม. สืบค้นจาก https://dataverse.harvard.edu/dataset.xhtml?persistentId=doi:10.7910/DVN/EIIXP6

นิธิภัทร ยุทธภัณฑ์บริภาร. (2559). การรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรต่อภาพลักษณ์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรณีศึกษาโรงไฟฟ้ากระบี่และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประทุม ฤกษ์กลาง. (2553). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภัทรวดี กฤตรัชตนันต์, ณิชากร ชัยศิริ, ศิริวรรณ สุขอนันต์, และอนิวัช แก้วจำนงค์. (2562). พฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์องค์กรของพนักงานสำนักงานในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(2), 31-40. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ecbatsu/article/view/180102/156752

ยุทธการ ประพันธ์. (2558). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นจาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56930255.pdf

รุ่งรัตน์ ชัยสําเร็จ. (2553). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วสุตม์ โชติพานิช. (2561). ปัจจัยด้านคุณภาพบริการ การรับรู้คุณค่า และภาพลักษณ์สายการบินที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อบริการซ้ำในบริบทของสายการบินเต็มรูปแบบ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3449/1/wasut_chot.pdf

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์: ฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธาสินี อรุณ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์กับความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของลูกค้าร้านกาแฟในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(1), 30-44. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/212270

Aday, L. A., & Andersen, R. (1975). Development of indices of access to medical care. Michigan: Ann Arbor Health.

Kotler, P., & Keller, K. (2012). Marketing management (14th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Millett, J. D. (1954). Management in the public service. New York: McGraw-Hill Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29