ความเสี่ยงในการสอบบัญชีกับการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

ผู้แต่ง

  • อรณัชชา อุไรเวศ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • เปรมารัช วิลาลัย DPU X สายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • อริสรา ธานีรณานนท์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี, การจัดการกำไร, ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเสี่ยงในการสอบบัญชีกับการจัดการกำไรของบริษัทจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เป็นบริษัทขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและการจัดการกำไร 2) เพื่อศึกษาความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่มีผลต่อการจัดการกำไร อีกทั้งสถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า การแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีแบบไม่มีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การจัดการกำไรลดลง รวมทั้งหากมีการใช้บริการสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การจัดการกำไรลดลง และขนาดของบริษัทที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการตรวจสอบข้อมูลทางการเงินมากขึ้นจึงส่งผลให้การจัดการกำไรลดลง หากแต่ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การจัดการกำไรเพิ่มขึ้น รวมทั้งอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การจัดการกำไรเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากข้อมูลทางการเงินมีแนวโน้มที่แสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมไม่มีผลต่อการจัดการกำไร

References

จุรีรัตน์ บทเรศ, เอื้อบุญ เอกะสิงห์, และนฤนาถ ศราภัยวานิช. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับรายงานของผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 10(4), 183-197. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/222918/153294

ชฎาณัฎฐ์ ปิยะวิบูลย์. (2558). ประสิทธิภาพของคณะกรรมการตรวจสอบกับคุณภาพการสอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพกำไรและการส่งสัญญาณคุณภาพกำไรผ่านการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นครปฐม). สืบค้นจาก http://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/1025/fulltext_dissertation_99.pdf?sequence=1&isAllowed=y

ณัฐณิชา ฟูเฟื่องสมบัติ. (2559). คุณภาพงานสอบบัญชีและการตกแต่งกำไร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจากhttp://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5802110105_5719_4432.pdf

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). การจดทะเบียนหลักทรัพย์. สืบค้นจาก https://www.set.or.th/th/faqs/listing_p1.html#1

ปณัญพัชญ์ ถิรพงศ์สรรค์, และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2563). การเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีและการตกแต่งกำไร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 10(3), 58-66. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/242281/167539

ปิยะณัฐ ถุนพุทธดม. (2561). ผลกระทบของกลไกการกำกับดูแลกิจการ คุณภาพการสอบบัญชีที่มีผลการดำเนินงานผ่านการบริหารกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก https://bit.ly/3RZTqIk

ปิยะณัฐ ถุนพุทธดม, ภัทรภร กินิพันธ์, และสัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน์. (2562). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการจัดการกำไรในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 145-157. สืบค้นจาก http://www.thonburi-u.ac.th/journal/Document/13-3/Journal13_3_13.pdf

เปรมารัช วิลาลัย, พัทธนันท์ เพชรเชิดชู, และ ศิริเดช คำสุพรหม. (2563). การจัดการกำไรผ่านการใช้ดุลยพินิจในการสร้างรายการทางธุรกิจและการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างกับความสามารถในการทำกำไรในอนาคต. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 83-96. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/242129/165974

พรชัย กัณฑ์สุข. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพงานสอบบัญชีกับการตอบสนองต่อข้อมูลกำไร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี). สืบค้นจาก http://ir.buu.ac.th/dspace/bitstream/1513/67/1/59920365.pdf

พรสุดา หวังประเสริฐกุล. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงในการสอบบัญชีและระยะเวลาการออกรายงานผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6002020482_9232_9677.pdf

ยุวดี วงค์แวงน้อย, และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2563). ผลกระทบของกระแสเงินสดและคุณภาพงานสอบบัญชีที่มีต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 175-195.

ศศิประภา สมัครเขตการพล. (2562). เรื่องสำคัญในการตรวจสอบ คุณภาพการสอบบัญชีและการจัดการกำไรของบริษัทที่เสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(108), 210-225. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/242277/164703

Asim, A., & Ismail, A. (2019). Impact of leverage on earning management: Empirical evidence from the manufacturing sector of Pakistan. Journal of Finance and Accounting Research, 1(1), 70-91. Retrieved from https://doi.org/10.32350/JFAR.0101.05

Bryan, D. B., & Mason, T. W. (2016). The influence of earnings management conducted through the use of accretive stock repurchases on audit fees. Advances in Accounting, incorporating Advances in International Accounting, 34, 99-109. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.adiac.2016.08.001

Healy, P. M., & Wahlen, J. M. (1999). A review of earnings management literature and its implications for standard setting. Accounting Horizons, 13, 365-383. Retrieved from http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.156445

Kasznik, R. (1999). On the association between voluntary disclosure and earnings management. Journal of Accounting Research, 37(1), 57-81. Retrieved from https://doi.org/10.2307/2491396

Muzatko, S., & Teclezion, M. (2016). The relationship between audit fees and earnings quality of financial institutions. Journal of Accounting and Finance, 16(5), 20-31. Retrieved from http://www.na-businesspress.com/JAF/MuzatkoS_Web16_5_.pdf

Schipper, K. (1989). Commentary on earnings management. Accounting Horizons, 3, 91-102.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29