แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจ XYZ

ผู้แต่ง

  • เกตศิรินทร์ กาญจนกังวาฬกุล สาขาการบริหารคนและกลยุทธ์องค์การ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • วิเชศ คำบุญรัตน์ สาขาการบริหารคนและกลยุทธ์องค์การ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหาร, แนวทางพัฒนา 70 : 20 : 10, รัฐวิสหกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจ XYZ  2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจ XYZ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารระดับสูง และกลุ่มผู้บริหารระดับกลาง สายงานบริหารและสนับสนุนองค์กรซึ่งเป็นผู้บริหารด้านการกำหนดแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ มีจำนวนทั้งหมด 6 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้บริหารระดับสูง จำนวน 3 คน และกลุ่มผู้บริหารระดับกลาง จำนวน 3 คน โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะดังนี้  ระยะที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นำ และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจ XYZ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) เพื่อให้ทราบถึงภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารระดับต้น และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจ XYZ ที่ผู้บริหารต้องการ คือ ผู้บริหารระดับต้นต้องมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership Theory) ที่ประกอบด้วย 1. การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized Influence or Leadership : II or CL) 2. การสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration Motivation : IM ) 3. การกระตุ้นทางปัญญา (Intellectual Stimulation : IS) และ 4. การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration : IC) มาใช้ในการพัฒนา 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการพัฒนาทักษะ (Skill Development) 2. ด้านการพัฒนาความรู้ (Knowledge Development) 3. ด้านการพัฒนาทัศนคติ (Attitude Development) ระยะที่ 2 การกำหนดแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจ XYZ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร่วมกับผู้บริหารเพื่อนำมาสรุปเป็นแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารระดับต้นของรัฐวิสาหกิจ XYZ โดยแนวทางการพัฒนาจะใช้รูปแบบ 70 : 20 : 10 คือ 70% = การเรียนรู้ด้วยตนเอง การมอบหมายงาน การฝึกงาน (Self-learning / Assignment / On the job Training) 20% = โค้ชและการให้คำปรึกษา (Coaching & Mentoring) และ 10% = การฝึกอบรม (Training)               

References

กีรติกร บุญส่ง, และ หทัยกานต์ กุลวชิราวรรณ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานปฏิบัติการระดับ 4 กลุ่มวิชาชีพหลัก 125 กลุ่มวิชาชีพสนับสนุนในการขับเคลื่อนองค์การรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง (HPO). วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(3), 125-137.

คนึงนิจ อนุโรจน์. (2561). NDC SECURITY REVIEW. ฉบับที่ 3. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

ฉวีวรรณ จันทร์เม่ง. (2552). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารส่งผลต่อมาตรฐานด้านผู้เรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดาวนภา หัทยานนท์. (2556). การศึกษาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารระดับกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุจเดือน พิงคยางกูล. (2555). การพัฒนาบุคลากรตามกรอบสมรรถนะหลักของศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เลิศชัย สุธรรมานนท์. (2557). กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อองค์กรยั่งยืน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง. (2557). แบบประเมินผู้บริหารระดับต้น. ราชบุรี: ผู้แต่ง.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2563). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ (Thailand Quality Award: TQA). กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิค.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะกลุ่มงาน HR บนแนวคิด 70 : 20 : 10 Learning model: กรุงเทพฯ:

เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

Bass, B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press.

Johnson, S. J., Blackman, D. A., & Buick, F. (2018). The 70: 20: 10 framework and the transfer of learning. Human Resource Development Quarterly, 29, 383– 402. https://doi.org/10.1002/hrdq.21330

McClelland, D. (1973). Testing for competency rather than for intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.

Nadler, L. (1980). Corporate human resource development. New York: Van. Nostrand Reinhold.

Nelson, D. L., & Quick, J. C. (1997). Organization behavior (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Spencer, L. M., & Spencer, S. M. (1993). Competency at work: Models for superior performance. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29