ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคีโตเจนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กุลณภัชร บุญทวี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการการค้าธุรกิจสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สายพิณ ปั้นทอง สาขาการจัดการการค้าธุรกิจสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, แรงจูงใจ, การตัดสินใจซื้อ, อาหารคีโตเจนิค, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคีโตเจนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคีโตเจนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 3. ศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคีโตเจนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่างที่เคยบริโภคอาหารคีโตเจนิค ระหว่างเดือนมกราคม 2564 -  มกราคม 2565 จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ Independent Sample t-Test, One way ANOVA (F-test), Pearson’s Correlation Coefficient, และ Multiple Linear Regression Analysis

ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 26 - 30 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 40,000 – 49,999 บาทต่อเดือน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคีโตเจนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคีโตเจนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านช่องทางจัดจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยด้านแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคีโตเจนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านความต้องการความมั่นคงปลอดภัย และด้านความต้องการการยอมรับจากสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าอิทธิพลมีประสิทธิภาพร้อยละ 54.70

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจร้านอาหาร. https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201902.pdf

กระทรวงสาธารณสุข, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2560). สรุปไทยแลนด์ 4.0 ด้านสาธารณสุข. https://ict.moph.go.th/upload_file/files/f458b9e53681c00be9b974f6f22e8f76.pdf

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรรยา วังนิยม, นรภัทร สถานสถิต, และสุพาพร ลอยวัฒนากุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ (Clean Food) ของประชากรในเขตเทศบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ ปริทัศน์, 22(2), 59-68.

จักรพันธ์ ใจเจตน์สุข, สายพิณ ปั้นทอง, และวิรัตน์ เตชะนิรัติศัย. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร ประเภทการขึ้นทะเบียน อ.18 ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(5), 81-92. https://ms.udru.ac.th/msjournals/assets/journals_details/20211108135429.pdf

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(58), 13-24. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/59056/48652

ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ. (2558). หลักการสื่อสารการตลาด. ทเวลล์พรินต์.

ทิพวรรณ ศิริเฑียรทอง. (2562). อาหารคีโตนกับการลดน้ำหนัก. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม. https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_datail&subpage=article_detail&id=634.

นิธิดา อรุณคีรีวัฒน์, รัชตะวัน ป้องกก, รินรดา รัตนดิลกวิทย์, วราศิณี อรุณคีรีวัฒน์, ทาริกา สระทองคำ, และ ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารกล่องเพื่อสุขภาพ สำหรับกลุ่ม Millennial ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(2), 33-43. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/saujournalssh/article/view/240643/163879

ปาณิสรา เฉยบัว, และ นลินี เหมาะประสิทธิ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(1), 131-142.

เปมิกา สิทธิพุทธากุล (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์คีโตเจนิกของกลุ่มผู้บริโภคอาหารคีโตเจนิกในประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนาภรณ์ กรวยสวัสดิ์. (2559). ปัจจัยแรงจูงใจของผู้บริโภคที่มีผลกระทบต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพของผู้บริโภควัยทำงานในจังหวัดนครราชสีมา [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2005/1/rattanaporn.krua.pdf

ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข, และ หทัยภัทร รัตนพรมงคล. (2562). การผลิตสื่อด้านสุขภาพในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบเผาผลาญของร่างกายก่อนการลดน้ำหนักและการลดน้ำหนักแบบโลว์คาร์บไฮแฟตหรือ คีโตเจนิคไดเอท. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 18(24), 181-187.

วาทินี พรมทอง, และ อชิรวิทย์ โชคโภคอนพงษ์. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนฟู้ดส์ในอำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 47-59.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์, และ อรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่: Marketing management. ธรรมสาร.

สวนดุสิตโพล. (2563, 21 ธันวาคม). การดูแลสุขภาพของคนไทยปี 2020. RYT9. http://www.ryt9.com/s/Sdp/3185035

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). กลุ่มโรค NCDs. https://www.thaihealth.or.th/microsite/categories/5/ncds/2/173/176-กลุ่มโรค+NCDs.html

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักการตลาดเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2558). หลักการตลาดสมัยใหม่: Modern principle of marketing (พิมพ์ครั้งที่ 6). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวรรยา พันธุลาภ. (2562). ทัศนคติและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารคีโตเจนิก [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.ba-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/387.ru

อุรวดี จันทร์แจ่มแสง. (2563). อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic diet). https://thaicam.go.th/wp-content/uploads/2020/05/อาหารคีโตจินิก-Ketogenic-Diet.pdf.

ThaiHealth Official. (2563, 4 ธันวาคม). อาหารดูแลสุขภาพ เทรนด์นิวนอร์มัล. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. https://www.thaihealth.or.th/?p=234402

Cochran, W. G. (1997). Sampling technique (3rd ed.). John Wiley and Sons

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29