การค้าชายแดนด่านสิงขรกับการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเศรษฐกิจไทย

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ นักปราชญ์ สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การค้าชายแดน, การพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด, การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ, การวิเคราะห์ SWOT

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพทางเศรษฐกิจของด่านสิงขร เมืองมะริด และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และวิเคราะห์โอกาส รวมถึงการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ณ ด่านสิงขร สู่การพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และการพัฒนาเศรษฐกิจไทย เนื่องจากการค้าชายแดน นับว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจของจังหวัด เป็นช่องทางที่ช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้า และแรงงานขึ้น โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) และการสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับด่านสิงขรและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจากการทบทวนเอกสาร งานวิจัย เอกสารทางราชการเกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัด ตัวชี้วัดเศรษฐกิจของจังหวัด และการค้าชายแดน ผลการศึกษา พบว่า ศักยภาพทางเศรษฐกิจของด่านสิงขร เมืองมะริด และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เอื้อต่อการทำการค้าระหว่างกัน มีโอกาสในการเชื่อมโยงกันทั้งด้านการค้าสินค้า (Trade in goods) การค้าบริการ (Trade in services) รวมถึงการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุก่อสร้าง สินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบด้านประมง และบริการด้านท่องเที่ยว รวมถึงการลงทุนด้านธุรกิจท่องเที่ยว นำเที่ยว และโรงแรม

References

กระทรวงพาณิชย์, กรมการค้าต่างประเทศ. (2565). คำนิยามการค้าชายแดน/ผ่านแดน. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จาก https://www.dft.go.th/bts/bts-trader

กระทรวงพาณิชย์, กรมการค้าต่างประเทศ. (2565). รายงานสถิติการค้าชายแดน/ผ่านแดน. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จาก https://www.dft.go.th/bts/trade-report

ด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์. (2562). รายงานสินค้านำเข้า - ส่งออก 10 อันดับ จุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2562.สืบค้น 6 กรกฎาคม 2562, จาก https://prachuap.customs.go.th/data_files/d6b15772524726230bb899eadffcd369.pdf

ด่านศุลกากรประจวบคีรีขันธ์. (2565). รายงานสินค้านำเข้า - ส่งออก 10 อันดับ จุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.สืบค้น 15 มกราคม 2565, จาก https://prachuap.customs.go.th/data_files/d6b15772524726230bb899eadffcd369.pdf

ถนอมศิลป์ จันคณากิติกุล, และ เกรียงไกร นามนัย. (2561). การประยุกต์ทฤษฎีเพื่อการลงทุนระหว่างประเทศ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 249-258.

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2557, สิงหาคม). การพัฒนาชายแดนไทย-พม่า โอกาสทองทางการค้าที่น่าติดตาม. E-news รู้ลึกลุ่มน้ำโขง, 9(8). สืบค้นจาก https://www.exim.go.th/eximinter/e-news/11284/enews_august2014_CLMV.html

ภัทรวดี โอฬารวัตร. (2556). การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า กรณีศึกษา: ด่านสิงขร ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสหวิทยาการ, 10(2), 9-31.

วลัยพร รัตนเศรษฐ. (2560). โครงการศึกษาวิจัยข้อเสนอแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาด่านสิงขร ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารพฤกษ์, 15(2), 72-82.

วิติยา ปิดตังนาโพธิ์. (2557). การศึกษาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพตามชายแดนในเส้นทางมะริด สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์-ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์. (2560). การพัฒนาพื้นที่ชายแดน เพื่อการค้าการลงทุนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27(2), 1-13.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี 2538-2563. สืบค้น 30 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี 2551-2560. สืบค้น 6 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี 2563. สืบค้น 15 มกราคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=gross_regional

สำนักปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) แผนแม่บทพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก (The Royal Coast หรือ Thailand Riviera) พ.ศ.2560-2564. สืบค้น สิงหาคม 2565, จาก https://www.mots.go.th/download/PolicyStrategy/StrategyDevelopTheRoyalCoast2560-2564.pdf

สุพรรณิการ์ ขวัญเมือง, และวราวุฒิ เรือนคำ. (2563). ธุรกิจเพื่อความเป็นสังคมเมือง โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนรูปแบบใหม่. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(111), 135–149.

Humphrey, A. (2005). SRI Alumni Newsletter.

Ruankham, W., Rompho, N., Rangsaritvorakarn, N., & Pathan, A. (2019). Evaluation of cross-border transport and trade facilitation of R12 route (Thailand, Lao PDR, and Vietnam): An exploratory approach. The Social Science Review, 156, 85-102.

Thamrin, H., & Pamungkas, W. E. (2017). A rule based SWOT analysis application: A case study for Indonesian Higher Education Institution. Procedia Computer Science, 116, 144–150.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29