ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จักริน เวียนบุญนาค คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการการค้าธุรกิจสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สายพิณ ปั้นทอง สาขาการจัดการการค้าธุรกิจสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, การตัดสินใจซื้อ, ร้านสะดวกซื้อ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานครที่ต่างกัน และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากลูกค้าที่ซื้อผักสดจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลลใช้สถิตเชิงพรรณนา โดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนหรือเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไปเป็นการทดสอบสมมติฐานค่าสถิติที่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โมเมนต์ผลคูณอย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-45 ปี มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่ำกว่า 10,001-20,000 บาท มีสถานภาพโสด การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี และมีอาชีพพนักงานบริษัท ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักสดของผู้บริโภคจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการรับรู้ คุณภาพและคุณประโยชน์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ค่าอิทธิพลมีประสิทธิภาพ 65.70%

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรัชยา วิจิตร, และชุติมาวดี ทองจีน. (2561). ส่วนประสมการตลาด คุณค่าตราสินค้า และความไว้วางใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อวิตามินอาหารเสริมในกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการและนำแสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 (น. 261-272). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัย แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุตินันท์ โรจน์เพ็ญเพียร, และ วรัญญา ติโลกะวิชัย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ (น. 1530-1539). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2562). การใช้โปรแกรม Minitab วิเคราะห์สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2563). หลักการตลาด: Principles marketing (พิมพ์ครั้งที่ 10). ปทุมธานี: มาร์เก็ตติ้งมูฟ.

ศรีสกุล แก้วกระจ่าง, สายพิณ ปั้นทอง, และ แคทลียา ธนาถนอมกุล. (2563). อิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้ออร์แกนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(5), 51-63. สืบค้นจาก https://ms.udru.ac.th/msjournals/assets/journals_details/20211108135228.pdf

ศิตาพร สืบอักษร, และ พัชราวดี ศรีบุญเรือง. (2560). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผัก/ผลไม้สดของผู้บริโภค กรณีศึกษาร้านโกลเด้น เพลซ สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ใน การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55 (น. 1002-1009). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานคร. (2564). สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/INFOCENTER9/916/

สิรินทร์ยา พูลเกิด. (2562). โครงการการสำรวจพฤติกรรมการกินผักและผลไม้ของคนไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก https://pr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/ResearchProjectDetail.aspx?ProjectId=878

สุขภาพคนไทย 2557: ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง...สู่การปฏิรูปประเทศจากฐานราก. (2557). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก https://ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/FileUpload/PDF/ThaiHealth2014TH_426.pdf

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักกการตลาดเพื่อผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา.

อรรถสิทธิ์ สกลคณาพงษ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนของผู้บริโภคในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2018). Principles of marketing (17th ed.). England: Pearson.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management. New Jersey: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29