กระบวนการตัดสินใจซื้อมีผลต่อความเชื่อมั่นในการเข้าชมเทศกาลดนตรีของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
กระบวนการตัดสินใจซื้อ, ความเชื่อมั่น, เทศกาลดนตรี, วัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง กระบวนการตัดสินใจซื้อมีผลต่อความเชื่อมั่นในการเข้าชมเทศกาลดนตรีของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อในการเข้าชมเทศกาลดนตรีของวัยรุ่น 2) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นในการเข้าชมเทศกาลดนตรีของวัยรุ่น 3) เพื่อศึกษาถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อที่มีผลต่อความเชื่อมั่นในการเข้าชมเทศกาลดนตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ วัยรุ่นเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 15-24 ปี ที่ตัดสินใจในการเข้าชมเทศกาลดนตรี และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 138 คน โดยใช้โปรแกรม G* Power และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่าย เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อหาความโดดเด่นของตัวแปร ผลการศึกษาทั่วไป พบว่า 1) พฤติกรรมหลังการซื้อเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในกระบวนการตัดสินใจซื้อในการเข้าชมเทศกาลดนตรีของวัยรุ่น เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถบอกเล่าความรู้สึกหลังเข้าชมเทศกาลดนตรีกับเพื่อนและครอบครัว 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในการเข้าชมเทศกาลดนตรีในด้านความเอื้อเฟื้อของผู้จัดเทศกาลดนตรีทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากที่สุด เพราะผู้จัดเทศกาลดนตรีตั้งใจมอบความบันเทิงและความต้องการ 3) กระบวนการตัดสินใจซื้อมีผลกับความเชื่อมั่นในการเข้าชมเทศกาลดนตรีของวัยรุ่น ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน เมื่อพิจารณาการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการตัดสินใจซื้อกับความเชื่อมั่นในการเข้าชมเทศกาลดนตรีโดยใช้ สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่าย เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) พบว่า กระบวนการตัดสินใจซื้อมีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นในการเข้าชมเทศกาลดนตรีของวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่เมื่อวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณระหว่างตัวแปรพยากรณ์กระบวนการตัดสินใจซื้อกับความเชื่อมั่นในการเข้าชมเทศกาลดนตรี พบว่า การค้นหาหรือแสวงหาข้อมูล และ การตัดสินใจซื้อ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ เป็นเพราะตัวแปรอิสระสามตัวคือ พฤติกรรมหลังการซื้อ การรับรู้ถึงปัญหาหรือความต้องการ และ การประเมินทางเลือก มีความโดดเด่นมากกว่าตัวแปร การค้นหาหรือแสวงหาข้อมูล และ การตัดสินใจซื้อ เมื่อนำตัวแปร 2 ตัวหลังนี้เข้าโมเดล จึงไม่ทำให้ R Square ของโมเดลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ทวีศักดิ์ คล่องวัฒนกิจ. (2548). กระบวนการตัดสินใจซื้อบัตรเข้าชมการแสดงดนตรีของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยุทธนา บุญอ้อม. (2564, 2 กันยายน). จุดกำเนิดเทศกาลดนตรีในประเทศไทย. (นายธรรมยุทธิ์ จันทร์ทิพย์, ผู้สัมภาษณ์).
ศรกมล ไทยภักดี, และธีรพล ภูรัต. (2559). การศึกษาความพึงพอใจ ภาพลักษณ์ และความภักดีต่อเทศกาลดนตรีในประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2540). การโฆษณา และการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: A.N. การพิมพ์.
สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักการตลาดเพื่อผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสรี วงษ์มณฑา. (2546). หลักการโฆษณา. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
Kate, P. T. (2564). PwC ประเทศไทย คาดปี 64 รายได้อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงไทยเฉียด 5.5 แสนลบ. สืบค้นจาก https://www.pwc.com/th/en/press-room/press-release/2021/press-release-27-01-21-th.html
Gajanan, M. (2019). How music festivals became a massive business in the 50 years since woodstock. Retrieved from https://time.com/5651255/business-of-music-festivals/
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management. London: Pearson Education.
Lassoued, R., & Hobbs, J. E. (2015). Consumer confidence in credence attributes: The role of brand trust. Food Policy, 52(1), 99-107.
Mothersbaugh, D. L., Hawkins, D. I., & Kleiser, S. B. (2020). Consumer behavior: Building marketing strategy. New York: McGraw-Hill Education.
Tangit, T. M., Kibat, S. A., & Adanan, A. (2016). Lesson in managing visitors experience: The case of Future Music Festival Asia (FMFA) 2014 in Malaysia. Procedia Economics and Finance, 37, 25-27. Retrieved from http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S2212567116300922.
Worsley, J. A. (1981). The newport jazz festival: A clash of cultures. London: ProQuest Dissertations Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น