การเปรียบเทียบศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน เพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, การท่องเที่ยววิถีใหม่, การรับรู้คุณภาพการบริการ, มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยและสุขภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินความพร้อมของชุมชนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติในการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนในเขตจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน เพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) โดยใช่วิธีการซุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่ชุมชนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน จำนวน 408 ตัวอย่าง
ผลการวิเคราะห์และการประเมินระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีผลต่อการใช้บริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยชุมชนตามเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย SHA ของจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน พบว่า ทั้ง 2 จังหวัด มีคุณภาพการให้บริการในระระดับสูง ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรม ความเชื่อถือไว้วางใจได้ การตอบสนองต่อลูกค้า การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า การรู้จักและเข้าใจลูกค้า โดยคิดเป็นร้อยละ 91.7 ร้อยละ 89.7 ร้อยละ 90.7 ร้อยละ 85.3 และร้อยละ 85.3 ตามลำดับ และพบว่า คุณภาพการให้บริการในด้านการตอบสนองต่อลูกค้า การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า การรู้จักและเข้าใจลูกค้า ยังอยู่ในระดับต่ำด้วยเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 0.5 ร้อยละ 1.0 และร้อยละ 2.0 ตามลำดับ ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการและผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพควรพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้านการรู้จักและเข้าใจนักท่องเที่ยวให้มากยิ่งขึ้น และรักษาระดับคุณภาพการให้บริการในด้านการตอบสนองต่อลูกค้า รวมถึงควรมีกระบวนการการให้บริการที่สอดคล้องกับมาตรฐาน SHA เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยววิถีใหม่
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. http://thai.tourismthailand.org/สถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรม/ประเภทกิจกรรมท่องเที่ยว/ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). แผนดำเนินงานโครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย : Amazing Thailand Safety and Health Administration: SHA). ผู้แต่ง.
จุไรรัตน์ ฉิมพาลี. (2563). คุณภาพการให้บริการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในแหล่งน้าพุร้อนธรรมชาติ. บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(3), 1-14.
ดารณี อาจหาญ, เกิดศิริ เจริญวิศาล, และ มนัสสินี บุญศรีสง่า. (2563). การยกระดับมาตรฐานปลอดภัยด้านสุขอนามัยการท่องเที่ยวที่พักชุมชนวัฒนธรรมยังยืนหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(1), 186-204. https://doi.org/10.14456/lartstu.2022.9
นพมัลลี เตชาวัชร์นานนท์. (2556). การวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. Chiang Mai University Digital Collections. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:118745
นวพร บุญประสม. (2556). การปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแพทย์แผนไทยเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยชุมชน กรณีศึกษา สวนสมุนไพรแอนนี่ อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ การท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 9(2), 85-99. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/31341/26934
นิศาชล ลีรัตนากร, และ ชนิดา พันธ์มณี. (2556). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในจังหวัดเชียงใหม่ [รายงานผลการวิจัย, สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้]. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้. http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2556/nisachon_leerattanakorn_2554_2/fulltext.pdf
พัชรียา แก้วชู. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบ New Normal หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคําแหง]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-1/6114993619.pdf
ศฐิฒฎา ธารารัตนสุวรรณ. (2563). ผลกระทบเชื้อไวรัส COVID-19 ต่อวิกฤตการท่องเที่ยวของประเทศไทย. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สินธุ์ สโรบล. (2551). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. ประชาคมวิจัย, 57, 15-21.
สุชาดา งวงชัยภูมิ. (2551). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2563). การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. https://www.egov.go.th/th/government-agency/211/
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Creswell, J. (2008). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches. Sage.
Pacific Asia Travel Association. (2020). PATA conducts “the future of tourism” interview series to provide COVID-19 recovery insights. Author.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (2013). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4), 41-50. https://doi.org/10.1177/00222429850490040
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น