การสื่อสารการตลาดแนวคิดชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืนของชุมชนเทศบาล ตำบลบางม่วง
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาด , แนวคิดชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืน , ชุมชนเทศบาลตำบลบางม่วงบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาหารูปแบบและแนวทางในการสื่อสารการตลาดแนวคิดชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืนของชุมชนเทศบาลตำบลบางม่วง ปัจจัยในการเลือกสื่อและแนวโน้มการสื่อสารการตลาดในอนาคต ซึ่งเทศบาลตำบลบางม่วงมีการผสมผสานรูปแบบการดำเนินชีวิตในรูปแบบกึ่งชุมชนเมือง จึงมีเปิดโอกาสให้ชุมชนออกมาร่วมกันแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการลดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สามารถเติบโตควบคู่กับการพัฒนาของชุมชนเมือง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาวบ้านในชุมชนในเทศบาลตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน ใช้ความถี่ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จาก 37 กลุ่มตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการเขียนเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปผล โดยอาศัยความสอดคล้องและความเป็นเหตุเป็นผล
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนที่หันมาสื่อสารผ่านออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Social Media เช่น Facebook Tiktok Line รวมถึง Youtube ส่งผลให้การสื่อสารการตลาดแบบออฟไลน์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อประชาชนหันไปทำการสื่อสารการตลาดบนออนไลน์มากยิ่งขึ้น นักการตลาดและนักวางแผนสื่อก็ต้องปรับตัวเรื่องการใช้สื่อมากขึ้น ในขณะที่ยังคงมองว่าการสื่อสารการตลาดในรูปแบบออฟไลน์ก็ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างการรับรู้และการเข้าถึงสินค้าและบริการได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะต้องควบคู่กับการสื่อสารการตลาดแบบออนไลน์ก็ตาม จึงได้มีการวางแผนการสื่อสารการตลาดแนวคิดชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งหาแหล่งรายได้ของชุมชน เช่น ตลาด เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งถือว่า เป็นสถานที่ศูนย์รวมใจแห่งชุมชน ในการสร้างรายได้และการรับรู้ถึงชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืนได้เป็นอย่างดี และเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการสื่อสารการตลาดแนวคิดชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืนของชุมชนเทศบาลตำบลบางม่วงมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต ต่อมาจึงวางแผนการสื่อสารตลาดโดยคำนึงถึงกระบวนการวางแผนสื่อ ในขั้นตอนแรกเป็นการเข้ารับโจทย์การสื่อการตลาด หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาด ต่อมาจึงประชุมฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ วางวัตถุประสงค์ และกลยุทธ์การใช้สื่อ รวมถึงกิจกรรมทางการตลาด การกำหนดงบประมาณเพื่อเป็นกรอบในการวางแผนให้กระบวนการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กระบวนการวางแผนสื่อและการสื่อสารการตลาด เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์และรูปแบบการสื่อสารการตลาด วางแผนสื่อ พร้อมทั้งนำเสนอแผนเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ก่อนออกแบบผลิตและดำเนินการซื้อสื่อ เผยแพร่สื่อ และติดตามประเมินประสิทธิผลสื่อต่อไป ซึ่งปัจจัยในการเลือกใช้สื่อได้มีการพิจารณาจากด้านตลาดเป้าหมาย ด้านสินค้าหรือบริการ ด้านการยอมรับสื่อ
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 ภูเก็ต. (2554). รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อม (ชุมชนสีเขียว) ปี 2554. https://bitly.ws/YrI5
กุลธิดา เชวงวรรณ. (2559). การวางแผนสื่อสำหรับการสื่อสารการตลาดเชิงกิจกรรมในยุคดิจิตอล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:91580
ดาวโรจน์ บุญยมาลิก. (2549). ปัจจัยจูงใจในการเลือกใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาด: กรณีศึกษาธุรกิจที่พัก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา]. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
เทศบาลตำบลบางม่วง. (ม.ป.ป.). ข้อมูลสภาพทั่วไป. https://bangmoung.go.th/public/list/data/index/menu/1144
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. วิทยาการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะวนศาสตร์, ศูนย์วิจัยป่าไม้. (2547). รายงานฉบับสมบูรณ์ มาตรการในการเพิ่มและการจัดการพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนอย่างยั่งยืน. https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/581056
ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์, วีระ สัจกุล, วรรณศิลป์ พีรพันธุ์, สมชาย รัตนโกมุท, นวณัฐ โอศิริ, กิตติโชติ บัวใจบุญ, ศุภางค์ ศุภพันธุ์มณี, และ น้ำฝน พิพัฒน์วงษ์. (2551). โครงการจัดทำแผนการจัดการพื้นที่สีเขียวที่สมบูรณ์ทางด้าน ระบบนิเวศอย่างยั่งยืน. ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2557). พื้นที่สีเขียว วิถีชีวิตคนเมือง. บี. วี. ออฟเซ็ต. https://bitly.ws/YrRE
สำนักสิ่งแวดล้อม, สำนักงานสวนสาธารณะ. (2558). ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพ. http://203.155.220.118/green-parks-admin/
อริสา เหล่าวิชยา. (2556). กลยุทธ์การจัดการตลาดเชิงกิจกรรม. วารสารนักบริหาร, 33(3), 19-24. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/80789
อลิสรา รุ่งนนทรัตน์ ชรินทร์สาร. (2561). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ: ต่อให้ติดใกล้ชิดผู้บริโภคในโลกไร้รอยต่อ. เอ็กซเปอร์เน็ท.
Belch, G. E., & Belch, M. A. (2004). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective (6th ed.). McGraw-Hill/Irwin.
Belch, M. A., & Belch, G. E. (2013). The future of creativity in advertising. Journal of Promotion Management, 19(4), 395-399. https://doi.org/10.1080/10496491.2013.817219
Burnett, R., & Marshall, D. (2003). Web theory: An introduction. Routledge.
Rosen, J. C., & Rosen, R. (2009). Convergence marketing: Combining brand and direct marketing for unprecedented profits. John Wiley & Sons.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น