ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจพลังงานที่ส่งผลต่อความยั่งยืน : กรณีศึกษาธุรกิจพลังงานในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นพชัย ถิรทิตสกุล วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • รชฎ ขำบุญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิริเดช คำสุพรหม วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, การจัดการเพื่อความเป็นเลิศ, ความสามารถในการสร้างห่วงโซ่แห่งคุณค่า, ความยั่งยืน, ธุรกิจพลังงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจพลังงานที่ส่งผลต่อความยั่งยืน และ 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของการจัดการเพื่อความเป็นเลิศทางธุรกิจ และความสามารถในการสร้างคุณค่าเพิ่มทางธุรกิจต่อความยั่งยืนของธุรกิจพลังงานในประเทศไทย โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน จำนวน 6 ราย และนำผลมาพัฒนาเป็นแบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลกับบุคลากรบริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจพลังงาน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 350 คน และใช้การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจพลังงานที่ส่งผลต่อความยั่งยืน ประกอบด้วย การจัดการเพื่อความเป็นเลิศทางธุรกิจ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ โครงสร้าง ทักษะ และค่านิยมร่วมในองค์การ กลยุทธ์และการบริหารงานทรัพยากรบุคคล ระบบและรูปแบบการบริหารจัดการ และการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการสร้างคุณค่าเพิ่มทางธุรกิจ มีจำนวน 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การตลาด การบริการ การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และด้านนวัตกรรม 2. การจัดการเพื่อความเป็นเลิศทางธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการสร้างคุณค่าเพิ่มทางธุรกิจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพล เท่ากับ .877 และมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อความยั่งยืนทางธุรกิจโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพล เท่ากับ .801 ความสามารถในการสร้างคุณค่าเพิ่มทางธุรกิจมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความยั่งยืนทางธุรกิจโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวม เท่ากับ .580 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .001

References

กรรณิการ์ สิทธิชัย และ สันติธร ภูริภักดี. (2561). การจัดการองค์กรตามแนวคิด 7s ของ McKinsey ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษาองค์กรที่ได้รางวัลองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(3), 1419-1435. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/156265

ชนภรณ์ อือตระกูล, สุจิตรา จรจิตร, และ วัน เดชพิชัย. (2562). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 21-38. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/103743/120583

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). โครงสร้างการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ผู้แต่ง.

นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2564, 21 พฤษภาคม). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: อุตสาหกรรมไบโอดีเซล. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Energy-Utilities/Biodiesel/IO/io-biodiesel-21.

นลินี พานสายตา, ประวีณา คาไซ และ จตุพล จรูญโรจน์ ณ อยุธยา. (2561). กลยุทธ์การบริหารร้านอาหารและเครื่องดื่มแบบฟู้ดทรัคให้ประสบความสำเร็จ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 446-462. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/126125

นัทวตรา ปัณชนาธรณ์ และ พรทิวา แสงเขียว. (2564). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อผลการดำเนินงานธุรกิจหมวดอุตสาหกรรมกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(8), 77-89. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/254269

พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์. (2559). จริยธรรมและการบริหารธุรกิจ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ashu, S. (2013). A study of role of McKinsey's 7S framework in achieving organizational excellence. Organization Development Journal, 31(3), 39-50. https://www.proquest.com/docview/1467437673

Cabrilo, S., Nesic, L. G, & Mitrovic, S. (2014). Study on human capital gaps for effective innovation strategies in the knowledge era. Journal of Intellectual Capital, 15(3), 411-249. https://doi.org/10.1108/JIC-05-2014-0058

Colbert, A., & Kurucz, E. C. (2007). Three conceptions of triple bottom line business sustainability and the role for HRM. Human Resource Planning, 30(1), 21-29. https://www.researchgate.net/publication/235771844_Three_Conceptions_of_Triple_Bottom_Line_Business_Sustainability_and_the_Role_for_HRM

Dess, G. G., Lumpkin, G. T., & Eisner, A. B. (2008). Strategic management (4th ed.). McGraw-Hill.

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL: A guide for the uninitiated. Sage.

Engert, S., Rauter, R., & Baumgartner, R. J. (2016). Exploring the integration of corporate sustainability into strategic management: A literature review. Journal of Cleaner Production, 112, 2833-2850. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2015.08.031

Elliot, S. (2009). Developing organizational capabilities in SMEs: Enabling environmentally sustainable ICT. BLED 2009 Proceedings, 24, 236-249. http://aisel.aisnet.org/bled2009/24.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis a global perspective (5th ed.). Pearson Education.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing management (13th ed.). Pearson.

Lee, J., & Hsieh, C-J. (2010). A research in rating entrepreneurship, marketing capability, innovative capability and sustained competitive advantage. Journal of Business & Economics Research, 8(9), 109-119. https://doi.org/10.19030/jber.v8i9.763

Lie, D., Sudirman, A., Efendi, E., & Butarbutar, M. (2019). Analysis of mediation effect of consumer satisfaction on the effect of service quality, price and consumer trust on consumer loyalty. International Journal of Scientific and Technology Research, 8(8), 421-428. http://bitly.ws/Lgn5

Rodriguez Perez, J., & Ordóñez de Pablos, P. (2003). Knowledge management and organizational competitiveness: A framework for human capital analysis. Journal of Knowledge Management, 7(3), 82-91. https://doi.org/10.1108/13673270310485640

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginners guide to structural equation modeling. Routledge.

Stiles, P., & Kulvisaechana, S. (2003). Human capital and performance: A literature review. The Judge Institute of Management, University of Cambridge. http://www.bus.tu.ac.th/usr/sab/articles_pdf/research_papers/dti_paper_web.pdf

Wang, L. (2005). A methodology of sustainability accountability and management for industrial enterprises. State University of New York at Buffalo.

Wong, W. P., Tseng, M., & Tan, K. H. (2014). A business process management capabilities perspective on organization performance. Total Quality Management & Business Excellence, 25(5-6), 602-617. https://doi.org/10.1080/14783363.2013.850812

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30