อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจสั่งผลิตเครื่องสำอางซ้ำของผู้ผลิตขนาดกลางในจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, การตัดสินใจสั่งผลิตซ้ำ, เครื่องสำอาง, สร้างแบรนด์เครื่องสำอางบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการ เปรียบเทียบความแตกต่างของการตัดสินใจสั่งผลิตเครื่องสำอางซ้ำ จำแนกตามประเภทธุรกิจและประเภทสินค้า
2. เปรียบเทียบความแตกต่างของการตัดสินใจสั่งผลิตเครื่องสำอางซ้ำ จำแนกตามตำแหน่งบุคลากรผู้ประสานงานกับบริษัท จำนวนสินค้า และระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ 3. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาด บริการที่มีต่อการตัดสินใจสั่งผลิตเครื่องสำอางซ้ำ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ผู้ประกอบการที่เคยสั่งผลิตซ้ำที่บริษัทรับผลิตเครื่องสำอางแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 181 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยโดยใช้สถิติ t-test, one way ANOVA (F-test) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และประมาณค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธี Maximum Likelihood ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่ตัวอย่างที่ศึกษาดำเนินธุรกิจประเภทนิติบุคคล มีระยะเวลาดำเนินธุรกิจ 0-5 ปี สั่งผลิตสินค้ามากกว่า 4 ผลิตภัณฑ์ และสั่งผลิตสินค้าประเภทเครื่องสำอาง พบว่า ประเภทสินค้า และระยะเวลาดำเนินธุรกิจมีผลต่อการตัดสินใจสั่งผลิตเครื่องสำอางซ้ำของผู้ผลิตขนาดกลางในจังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญ และยังพบว่า ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการจำหน่าย กระบวนการและลักษณะทางกายภาพ มีความสำพันธ์เชิงอิทธิพลต่อการตัดสินใจสั่งผลิตเครื่องสำอางซ้ำของผู้ผลิตในจังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญ โดยสามารถทำนายการตัดสินใจสั่งผลิตเครื่องสำอางซ้ำได้ถูกต้อง ร้อยละ 89.00
References
กนกกร ณ ระนอง. (2563). คนไทยให้ความสำคัญกับผิวหน้า ส่งให้ตลาดสกินแคร์-เมคอัพ มีมูลค่ารวมกว่า 11.87 หมื่นล้านบาท. Bltbangkok. https://bltbangkok.com/lifestyle/22510/
กรรณรรรณ พิบูลย์. (2565). แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้า KIIC [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5219
กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2564). ตรวจสอบการอนุญาต. https://porta.fda.moph.go.th/fda_search_all/main/search_center_main.aspx
กฤษติกา คงสมพงษ์. (2561). การตลาดบริการในพหุวัฒนธรรม เล่ม 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤษติกา คงสมพงษ์. (2561). การตลาดบริการในพหุวัฒนธรรม เล่ม 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คมสัน สมคง, สักรินทร์ อยู่ผ่อง, และ สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2565). รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเพื่อนำไปสู่การสร้างตราสินค้า. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(2), 202-222. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/255707
ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2563). การตลาดบริการ: Service marketing. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2563). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันฑริกา เครือสา และ พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2563). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวแบรนด์ เดอ ลีฟ ของลูกค้าในกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการยุคโลกาภิวัตน์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญสิตา อรัณยกานนท์, ภูมิพิชัย ธารดำรง, และ เบญญาดา เติบวณิชกุล. (2564). พฤติกรรมของผู้บริโภคและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าของผู้หญิงวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 4(2), 191-198. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/dsr/article/view/1399
พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2563). หลักการตลาดบริการ. พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
พรรณิภา วิชัยพล, สุรินทร์ มรรคา, และ ตะวัน วิกรัยพัฒน์. (2564). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรไทยของผู้บริโภคในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 273-282. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/251205
ยุทธ ไกยวรรณ. (2561). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรด้วย SPSS. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักการตลาดเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรียทิพย์ ประยูรพัฒน์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผสมสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ]. DSpace at My University. http://has.hcu.ac.th:8080/xmlui/handle/123456789/138
เหมือนจิต จิตสุนทรชัยกุล. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคกับธุรกิจค้าปลีก. ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
อีฟ โรเช่ เลือกไทยนำร่องโปรแกรมขายผ่าน Social selling รับลูกค้ายุคโควิดเชื่อเพื่อนมากกว่าอินฟลูเอ็นเซอร์แล้ว. (2563, 7 ตุลาคม). Post Today. https://www.posttoday.com/business/634939
awanafan. (ม.ป.ป.). รู้หรือไม่? กลยุทธ์การผลิต OEM, ODM และ OBM คืออะไร? ช่วยธุรกิจได้อย่างไร?. The Wisdom Academy. Business model. https://thewisdom.co/content/what-is-oem-odm-and-obm/
Krungsri Guru SME. (ม.ป.ป.). เครื่องสำอางเมดอินไทยแลนด์ ธุรกิจนี้ยังสดใสท่ามกลางคู่แข่ง. https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/cosmetics-made-in-thailand
Cronbach, L. J. (1970). Cronbach’s alpha coefficient: Essential of psychology and education. Mc-Graw Hill.
Farahnur, V. P., & Ariani, MB. N. (2020). Analysis of marketing mix on purchase decision of the body shop product in Pejaten Village Mall outlet. International Humanities and Applied Sciences Journal, 3(1), 1-11. https://pdfs.semanticscholar.org/e633/5855892551631f5e62202705108f69082806.pdf
Hasan, M., & Islam, M. F. (2020). The effect of marketing mix (7Ps’) on tourists’ satisfaction: A study on Cumilla. The Cost and Management, 48(2), 30-40. https://www.icmab.org.bd/wp-content/uploads/2020/06/4.The-Effect.pdf
Lee, J. Y. (2015). The analysis of skin care service marketing-mix factor of skin care shops satisfaction and loyalty. Kor J Aesthet Cosmetol, 13(6), 873-881.
Mingfei, S., & Nongbunnak, S. (2019). Factors affecting purchasing behavior of Chinese customers toward cosmetic stores in Beijing. Dhurakij Pundit University
Sofiyani, I. I., Suroso, A., & Suwandari, L. (2022). Marketing analysis mix-7p (product, price, promotion, place, people, process, and physical evidence) on the purchase decision of beauty products and services Kiwi Clinic Purwokerto. In International conference on sustainable competitive advantage (pp. 199-212). Universitas Jenderal Soedirman
Zavira, C. M., Ismoyowati, D., & Yuliando, H. (2023). Korean restaurants’consumer needs based on marketing mix through the Kano model. Journal of Agribusiness and Rural Development Research, 9(1), 129–149. https://doi.org/10.18196/agraris.v9i1.184
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น