การศึกษาความสามารถในการออมของแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วิมลรัตน์ ศรีรัตนกูล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การออม, แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, ธุรกิจท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความงานวิจัยเรื่องการศึกษาความสามารถในการออมของแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมของแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ แรงงานที่ประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 5,605 คน ช่วงอายุ 15-90 ปี มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้แบบจำลองสมการการถดถอยโลจิสติกส์แบบทวิภาค (Binary Logistic Regression) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อความสามารถในการออมของแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนของครัวเรือนที่สามารถออมได้มากที่สุดคือ แรงงานในธุรกิจโรงแรมและที่พัก รองลงมาเป็นแรงงานที่อยู่ในธุรกิจนำเที่ยว ปัจจัยที่ส่งผลทางบวก ต่อความสามารถในการออมของแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของแรงงาน แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่มีสถานะการทำงาน เป็นลูกจ้าง พนักงานและข้าราชการ ทำธุรกิจส่วนตัวและธุรกิจในครัวเรือน ส่วนปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อความสามารถในการออมของแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ หนี้สิน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เพศของแรงงาน สถานภาพการสมรสของแรงงาน และแรงงานที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป

References

กมลวรรณ วรรณธนัง, ประพันธ์ แสงทองดี, และประกร ฤทธิญาติ. (2563). รูปแบบการส่งเสริมการออมของแรงงานนอกระบบตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกองทุนการออมแห่งชาติ กรณีศึกษาตำบลบางนมโค อำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 18(2), 54-68. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/242354

โชติกา ศุภนภาโสตถิ์. (2561). พฤติกรรมและรูปแบบการออมของแรงงานนอกระบบ. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. https://econ.nida.ac.th/wp-content/uploads/2018/09/IS2Final-Paper_5920322028.pdf

ณิชากร ชัยศิริ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (ม.ป.ป.). การปรับตัวของแรงงานในภาคการท่องเที่ยวในยุคโควิด-19. https://econ.nida.ac.th/2022/03/การปรับตัวของแรงงานในภาคการท่องเที่ยว/

มงคล ชัยจำรูญ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมเงินในกองทุนการออมแห่งชาติของแรงงานนอกระบบในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3134

รัตนา สายคณิต. (2538). มหเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). ไทยวัฒนาพาณิช.

ศิวัช กรุณาเพ็ญ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมและพฤติกรรมการออมของคน Gen Y [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:140039

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565, 11 กรกฎาคม). รายงานสรุปการจัดทำบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยว. https://www.mots.go.th/download/article/article_20220711132930.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2562. https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/qC

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). คู่มือการปฏิบัติงานสนามการสำรวจการติดตามระดับความรู้ และการเข้าถึงบริการทางการเงินของครัวเรือน พ.ศ. 2565 (ปฏิบัติงานเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565). http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/รายได้รายจ่ายครัวเรือน/การออมภาคครัวเรือนของไทย.aspx

อธิพันธ์ วรรณสุริยะ และ สุวิมล เฮงพัฒนา. (2562). ความสามารถในการออมของครัวเรือนไทยเปรียบเทียบระหว่างแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบ. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(2), 1-17. https://kukrdb.lib.ku.ac.th/journal/JEMS/search_detail/result/20007722

Al-Amin, M. (2020). Effects of different socio-economic characteristics of rural households on their saving decision in Pabna District of Bangladesh: A binary logistic regression analysis. Asian Journal of Economics Business and Accounting, 20(2), 14-20. https://doi.org/10.9734/ajeba/2020/v20i230320

Jappelli, T., & Modigliani, F. (2003). The age-saving profile and the life-cycle hypothesis [Research report, Universita Degli Studi Di Salerno]. Universita Degli Studi Di Salerno. https://www.cs.odu.edu/~dlibug/ups/rdf/remo/sef/csefwp/wp9.pdf

Mirach, T. H., & Hailu, Y. M. (2014). Determinants of household saving in Ethiopia: A case of North Gondar zone, Amhara regional state. International Journal of Development and Economic Sustainability, 2(4), 37-49. https://eajournals.org/ijdes/vol-2issue4october-2014/determinants-household-saving-ethiopia-case-north-gondar-zone-amhara-regional-state-2/

Saqib, S., Panezai, S., Ullah, H., Ali, U., & Usman, H. (2016). Determinants of household savings in rural and urban areas: The case of Chitral District, Pakistan. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 6(3), 54-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22 — Updated on 2024-01-29

Versions