การศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา “การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนผ่านโครงการปลูกป่าด้วยปลายนิ้ว”

ผู้แต่ง

  • อติโรจน์ โชติพรสวัสดิ์ สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • องอาจ สิงห์ลำพอง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

แคมเปญออนไลน์, การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน, บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน), โครงการปลูกป่าด้วยปลายนิ้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) เลือกศึกษาจากโครงการปลูกป่าด้วยปลายนิ้ว ซึ่งเป็นโครงการปลูกป่าของบริษัทฯ เพื่อวัตถุประสงค์ในการชดเชยการสร้างคาร์บอน และประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงบุคคลทั่วไป โดยได้รับความร่วมมือจาก สิงห์ปาร์ค เชียงราย และบริษัทพันธมิตร อาทิ สยามคูโบต้า และไทยคม รวมถึงหน่วยงาน และชุมชนท้องถิ่น โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสื่อสารด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ประกอบกับอาศัยแนวคิด และทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ เช่น ทฤษฎีการวางแผนการสื่อสาร แนวคิดเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์องค์กร รวมถึงการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ภายในบริษัท และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาจัดระเบียบข้อมูล แบ่งกลุ่มของข้อมูลเพื่อหาถึงเหตุและผล ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงกันของของข้อมูล แนวคิด นำไปสู่การวางแผนการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบสำคัญ คือ การวางแผนการสื่อสารด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน และการ วางกลยุทธ์ใน การสื่อสารพร้อมประเมินผลเพื่อนำไปปรับปรุงการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจากผลการวิเคราะห์นั้น บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) วางแผนการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนจากวิสัยทัศน์ จากนั้นวางกรอบการดำเนินงานด้าน ความยั่งยืน และตั้งเป้าหมายด้านความยั่งยืน เพื่อนำไปวางกลยุทธ์การสื่อสารที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ โดยการศึกษาปัญหาเพื่อกำหนดแนวคิด วัตถุประสงค์ และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นเลือกเครื่องมือในการสื่อสาร ได้แก่ แคมเปญออนไลน์ การทำกิจกรรมเพื่อ สังคม การประชาสัมพันธ์ การร่วมมือกับพันธมิตรและการโฆษณา หลังจากกำหนดเครื่องมือและวิธีการแล้วก็ดำเนินการตาม แผนกลยุทธ์ที่วางไว้ รวมถึงวัดผลเพื่อพัฒนากระบวนการ สื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไป

References

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2542). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันราชภัฏนครปฐม.

จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์. (2552). ยุทธวิธีการประชาสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลธิศ จันทิกาแก้ว. (2561). มุมมองของพนักงานที่มีต่อการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด กระแสสินธุ์การโยธา [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17503

ลอยฉัตรี ศิริพัฒน์. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของบุคลากรกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ขององค์การคลังสินค้า [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2243

พลอยระวี แป้นเจริญ. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารภายนอกองค์กรของช่อง 7HD [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5095

พัธนิตย์ เหลืองภัทรเชวง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมและต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้น [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:93783

ภาณุพงศ์ อนันต์ชัยพัทธนา. (2552). การวิเคราะห์เส้นทางแห่งความสำเร็จของครูพิการ: พหุกรณีศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57075

โลกร้อน: การประชุม COP26 ในกลาสโกว์ตกลงอะไรกันได้บ้าง. (2564, 13 พฤศจิกายน). บีบีซี. https://www.bbc.com/thai/international-59264622

วงหทัย ตันชีวะวงศ์. (2559). เอกสารประกอบการเรียนการสอน วจ.603 หลักการจัดการสื่อสารองค์กร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริรัตน์ พรหมดวงตา. (2559). รูปแบบกิจกรรมเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/160424.pdf

สมควร กวียะ. (2540). สื่อมวลชนดลชีวิต. แก้วน้ำ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31