ความสมดุลในชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีในองค์กรสมัยใหม่ของคนวัยทำงาน Gen Z ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุธาสินี บ๋าศาลา สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ความสมดุลในชีวิตการทำงาน, ความเป็นอยู่ที่ดี, องค์กรสมัยใหม่, Gen Z

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความสมดุลในชีวิตการทำงาน 2. ศึกษาระดับความเป็นอยู่ที่ดีในองค์กรสมัยใหม่ 3. เปรียบเทียบความเป็นอยู่ที่ดีในองค์กรสมัยใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4. ศึกษาความสมดุลในชีวิตการทำงานที่มีผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีในองค์กรสมัยใหม่ของคนวัยทำงาน Gen Z ในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test F-test และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณโดยกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า คนวัยทำงาน Gen Z ในกรุงเทพมหานครมีความสมดุลในชีวิตการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นอยู่ที่ดีในองค์กรสมัยใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คนวัยทำงาน Gen Z ในกรุงเทพมหานครที่มีสถานภาพสมรส อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ทำงานแตกต่างกัน มีความเป็นอยู่ที่ดีในองค์กรสมัยใหม่ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ พบว่า ความสมดุลในชีวิตการทำงาน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเวลา ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความพึงพอใจ มีผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีในองค์กรสมัยใหม่ ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ด้าน สามารถอธิบายความแปรผันของความเป็นอยู่ที่ดีในองค์กรสมัยใหม่ได้ร้อยละ 63.7 (R2 = 0.637) จากผลการศึกษาสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับบุคลากรในองค์กรต่อไป

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติ ชุณหศรีวงศ์. (2562). ความสมดุลของชีวิตการทำงานและครอบครัวของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 7(2), 465-483. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/126785

ความเป็นอยู่ที่ดี. (ม.ป.ป.). Wtw. https://www.wtwco.com/th-th/solutions/wellbeing

ชาวิท ตันวีระชัยสกุล. (2564, 1 พฤศจิกายน). Work-life balance ปรับสมดุลชีวิตทำงาน. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. http://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/work-life-balanceปรับสมดุลชีวิตทำงาน/#

ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้สถิติในงานวิจัย. ส.เสริมมิตรการพิมพ์.

นิตยา สุภาภรณ์. (2552). การรับรู้ของประชาชนต่อความอยู่ดีมีสุขในชุมชนบางไผ่ [รายงานผลการวิจัย, วิทยาลัยราชพฤกษ์]. ศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยราชพฤกษ์. http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2552_Manage_Nittaya.pdf

เพ็ญนภา หงษ์ทอง. (2566, 28 เมษายน). โลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อประชากร Gen Z ตบเท้าเข้าสู่วัยทำงาน. Waymagazine. https://waymagazine.org/gen-z-as-a-new-jobber/#:~:text=งาน%3A%20สำหรับเจน%20Z%20งาน,ต้องความสำเร็จได้เร็ว

มัสลิน เดชอรัญ. (2559). การศึกษาความสมดุลระหว่างชีวิตและงานกับความจงรักภักดีของพนักงานเจเนอเรชั่นวาย กลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. PSU Knowledge Bank. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12391

สรนันท์ ตุลยานนท์. (ม.ป.ป.). ภาพรวมของโลกด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Health and wellness). MTEC. https://www.mtec.or.th/post-knowledges/66565/#:~:text=ส่วนความเป็นอยู่ที่,โดยตรงกับสุขภาพโดยรวม

อังคณา ธนานุภาพพันธุ์ และ ชุดาพร สอนภักดี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีมีสุขของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 9(2), 184-200. https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/4619

HREX.asia. (2564, 23 พฤศจิกายน). Well-being ความคาดหวังต่อคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนทำงานยุคปัจจุบัน. https://th.hrnote.asia/tips/well-being-create-culture-organization-11012021/

JobsDB. (2566ก, 7 กรกฎาคม). Gen Z กับการทำงาน และสิ่งที่ต้องการนอกจากโบนัสและเงินเดือน. https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/gen-z-กับการทำงาน

JobsDB. (2566ข, 7 กรกฎาคม). การปรับตัวในการทำงานแบบสังคมหลาย Gen. https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/gen-z-กับการทำงาน

Work life balance คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการทำงานยุคใหม่. (2566, 20 มกราคม). Sakid. https://www.sakid.app/blog/work-life-balance/#:~:text=Work%20Life%20Balance%20คือ%20สมดุล,ก็เรียกร้องให้เอาใจใส่

Edwards, J. R., & Rothbard, N. P. (2000). Mechanisms linking work and family: Clarifying the relationship between work and family constructs. Academy of Management Review, 25(1), 178-199. https://psycnet.apa.org/doi/10.2307/259269

Greenhaus, J. H., Collins, K. M., & Shaw, J. D. (2003). The relation between work–family balance and quality of life. Journal of Vocational Behavior, 63(3), 510-531. https://psycnet.apa.org/doi/10.1016/S0001-8791(02)00042-8

Rath, T., & Harter, J. (2010). The economics of wellbeing. Gallup Press.

Walton, R. E. (1975). Criteria for quality of work life. In K. E. Davis and A. B. Cherns (Eds.), Quality of working life (Vol. 1, pp. 91-104). Free Press.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory statistics (2nd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-27