การตระหนักรู้และการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ในบริบทการสื่อสารไร้สาย

ผู้แต่ง

  • อิสรีย์ ประดิษฐ์ธีระ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

เทคโนโลยี 5G, การตระหนักรู้, การใช้ประโยชน์เทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง การตระหนักรู้และการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ในบริบทการสื่อสารไร้สาย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตระหนักรู้ และการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ของประชากรที่ความหลากหลายแตกต่างกัน ภายใต้บริบทการสื่อสารแบบไร้สาย และเพื่อประเมินถึงการนำความรู้ความเข้าใจที่ของประชากรที่หลากหลายแตกต่างกันเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ไปใช้ประโยชน์ภายใต้บริบทการสื่อสารแบบไร้สาย จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 625 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ  ผลการศึกษาพบว่า การตระหนักรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ไปใช้ประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ความแตกต่างด้านอายุส่งผลต่อการตระหนักรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านความแตกต่างของเพศ และอายุยังส่งผลต่อการตระหนักรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างด้านอาชีพส่งผลต่อการนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ไปใช้ประโยชน์ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความแตกต่างและหลากหลายของประชากรด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ไม่ส่งผลต่อการนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี 5G ไปใช้ประโยชน์ในภาพรวม

References

คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). แผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทยระยะที่ 1. https://www.onde.go.th/assets/portals/1/files/แผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี%205G%20ของประเทศไทย%20ระยะที่%201.pdf

จุฑามาศ ประกอบผล. (2562). การรับรู้และทัศนคติที่มีผลต่อความพร้อมในการใช้บริการเทคโนโลยี 5G ของผู้บริโภค:กรณีศึกษาประชากรจังหวัดกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.me-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/215

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สํานักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ภาคภูมิ ภัควิภาส และ สุธีมนต์ ทรงศิริโรจน์ (2564). ปัจจัยการรับรู้และทัศนคติการใช้งานเทคโนโลยี 5G ในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านของประชากรในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(5), 89-105. https://shorturl.asia/NzV2o

ศิรวิชญ์ กิตติวิชญกุล, ณัฎฐณรงค์ นิลจันทร์, จตุพร ดวงทอง, อนุสรณ์ วงค์ษา, และ กฤติยาภรณ์ เหมือดขุนทด. (2563). เทคโนโลยีการสื่อสารยุค 5G. มิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992).

ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง, บัณฑิต พิริยาสันสันติ, ฤทธิชาติ อินโสม, และ นำพล ม่วงอวยพร. (2564). ความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่องจากเทคโนโลยี 5G. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย, 4(1), 105-119. http://www.rujogs.ru.ac.th/journals/10_1619762032.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2561). 5G: คลื่นและเทคโนโลยี. https://www.nbtc.go.th/getattachment/a3183a1b-d74c-4130-beed-5addb648c7cb/223348_5G-คลื่นและเทคโนโลยี_finalPUB.pdf.aspx?lang=th-TH&ext=.pdf1

G คืออะไร?. (2562, 25 กุมภาพันธ์). สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://www.ops.go.th/th/content_page/item/701-5g

Cloud HM-MKT. (2562, 12 พฤศจิกายน). AR และ VR คืออะไร ความแตกต่างที่เหมือนกันหรือไม่?. https://blog.cloudhm.co.th/ar-vr/

Armstrong, P. (2010). Bloom's taxonomy. Vanderbilt University Center for Teaching. https://cft.vanderbilt.edu/guides-sub-pages/blooms-taxonomy/

Good, C. V. (1973). Dictionary of education. McGraw-Hill.

Wolman, B. B. (1973). Dictionary of behavioral science. Litton Educational.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-27