ผลกระทบของสื่อโฆษณาออนไลน์และคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่าน Social media platform ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • พลช อินทวงษ์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ธัมมิกา สุทธเศียร วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สื่อโฆษณาออนไลน์, คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์, สื่อสังคมออนไลน์, ความตั้งใจซื้อสินค้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบความตั้งใจซื้อสินค้าผ่าน Social Media Platform ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตาม ลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2. ศึกษาผลกระทบของสื่อโฆษณาออนไลน์ที่มีผลต่อความตั้งซื้อสินค้าผ่าน Social Media Platform ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3. เพื่อศึกษาผลกระทบของคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อความตั้งซื้อสินค้าผ่าน Social Media Platform ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ที่เคยเห็นสื่อโฆษณาผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 408 คน โดย เพศหญิง 204 คน และเพศชายมีจำนวน 202 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ด้วยวิธีการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อทดสอบสมติฐานของข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t-Test, F-Test และ Multiple Regression Analysis ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุ ระดับการศึกษา ความถี่ในการรับสื่อโฆษณา การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ Facebook Instagram YouTube และ TikTok แตกต่างกัน มีความตั้งใจซื้อสินค้า ผ่าน Social Media Platform แตกต่างกัน สื่อโฆษณาออนไลน์ ด้านข้อความโฆษณา ด้านวิดีโอ/ภาพเคลื่อนไหว ด้านเสียง และด้านตราสัญลักษณ์ หรือโลโก้ มีอิทธิพลทางบวก ส่วนคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านประสิทธิภาพของการใช้งาน ด้านความพร้อมของระบบ และด้านการตอบสนองลูกค้า ตามลำดับ มีอิทธิพลทางบวก และด้านการชดเชยลูกค้าเมื่อเกิดความเสียหาย มีอิทธิพลทางลบต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

References

กณิกนันต์ อุดมสิน. (2560). การวิเคราะห์ข้อมูลสีที่มีอิทธิพลเชิงจิตวิทยาต่องานออกแบบสื่อดิจิทัล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น]. ศูนย์วิทยบริการ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

กนกวรรณ แซ่อิ้ว. (2559). ผลกระทบของคุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร. https://shorturl.asia/VPcaU

กรปรียา อาวพิทักษ์ และ พิมพ์มณี รัตนวิชา. (2554). ผลกระทบของรูปแบบแบนเนอร์โฆษณาต่อการรับรู้ตราสินค้า ความรู้เกี่ยวกับสินค้า ความรำคาญ และจำนวนคลิกบนแบนเนอร์. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 33(128), 63-85. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/view/3873

โฆษณาออนไลน์ อาวุธคู่ใจของธุรกิจ SMEs. (ม.ป.ป.). Nnipa. https://shorturl.asia/qiB3T

จง บุญประชา. (2555). สีและลวดลายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของที่ระลึก. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชลติกานต์ ทิศเสถียร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5130

ณัฐพล ใยไพโรจน์ และ อาราดา ประทินอักษร. (2566). How to succeed in social media marketing ทำการตลาดให้บรรลุผลบน Social media. ไอดีซี พรีเมียร์.

ธัญญธร ภิญโญพาณิชย์การ. (2563). คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการสตรีมมิ่งของ NETFLIX [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. DSpace at Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/922

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2557). สื่อดิจิทัลกับการดํารงชีวิต. วังอักษร.

นาซียะฮ์ มะหมัด, สุภาพร ดิสวัสดิ์, และ โกมลมณี เกตตะพันธ์. (2565). การโฆษณาผ่านสื่อประเภทวิดีโอที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 (น. 2850-2864). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. https://www.hu.ac.th/Conference/conference2022/proceedings/doc/Proceeding%20HU%20Conference13.pdf

ประกายกาวิล ศรีจินดา. (2563). การเขียนบทโฆษณา. ศูนย์หนังสีอมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พลอยกนก ผาสุขตระกูล. (2560). รูปแบบการโฆษณาบนเฟชบุ๊กที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อและเลือกใช้บริการสินค้ากลุ่มธุรกิจความงาม [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2827

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2551). บันทึกความสำเร็จธุรกิจดอทคอม e-Commerce: Success case study มุมมองการตลาดและกรณีศึกษาเว็บไซต์ไทย. พงษ์วรินการพิมพ์.

มนัส สายแก้ว. (2562, พฤศจิกายน). รู้จักกับสื่อวีดีทัศน์เบื่องต้น. http://kruthinkandan.net/home/images/dataktd/article/software/video/vedio-11.pdf

ยุทธพล คุณวงศ์วิวัฒน์. (2559). การเลือกใช้และออกแบบสื่อโฆษณาที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภค: กรณีศึกษาบ้านทาวน์เฮาส์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2559/b193280.pdf

วราพรรณ อภิศุภะโชค และ ศิริพร เลิศไพศาลวงศ์. (2560). คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์, 24(2), 30-47. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/article/view/77865

วัชระ เวชประสิทธิ์, ฐานิดา สุริยะวงศ์, ชนิดาภา อายาบาล, มณฑนา สมพงษ์, และ อารยา จงใจรักษ์. (2564). คุณภาพการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้จำหน่ายสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าในจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(1), 115-123. https://journal.pbru.ac.th/admin/upload/article/7258-2021-06-08.pdf

ศรัญญา รักษาศรี. (2564). คุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าภายใต้แบรนด์ยูนิโคล่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). DSpace at Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1803

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). อิทธิพลของสื่อโฆษณา (Media’s influence) ต่อการตัดสินใจของคนไทย. https://shorturl.asia/TDvG1

Baltas, G. (2003). Determinants of internet advertising effectiveness: An empirical study. International Journal of Market Research, 45(4), 1-9. https://doi.org/10.1177/147078530304500403

Belch, G. E., & Belch, M. A. (2009). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective (8th ed.). McGraw-Hill Irwin.

Belch, G. E., & Belch, M. A. (2011). Advertising and promotion: An integrated marketing communication perspective (9th ed.). McGraw-Hill.

Clow, K. E., & Baack, D. (2010). Integrated advertising, promotion, and marketing communications (4th ed.). Pearson Education.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed.). Pearson Education.

Introduction to digital advertising โฆษณาออนไลน์คืออะไร? พามารู้จัก digital advertising 101 ตั้งแต่เริ่มต้น. (ม.ป.ป.). Contentshifu. https://contentshifu.com/pillar/what-is-digital-adv

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). Pearson.

Kumar, R. (2008). Research methodology: A step-by-step guide for beginners. APH Publishing Corporation.

Lee, G. G., & Lin, H. F. (2005). Customer perceptions of e-service quality in online shopping. International Journal of Retail & Distribution Management, 33(2), 161-176. https://doi.org/10.1108/09590550510581485

Liljander, V., van Riel, A. C., & Pura, M. (2002). Customer satisfaction with e-services: The case of an online recruitment portal. In M. Bruhn and B. Stauss (Eds), Electronic services. Gabler Verlag. https://doi.org/10.1007/978-3-8349-4418-4_17

Liu, T. H. (2012). Effect of e-service quality on customer online repurchase intentions [Doctoral dissertation, Lynn University]. ProQuest Dissertations and Theses database. https://www.proquest.com/docview/1030976693

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perception quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Malhotra, A. (2005). E-S-Qual: A multiple-item scale for assessing electronic service quality. Journal of Service Research, 7, 213-233. http://dx.doi.org/10.1177/1094670504271156

Taylor, E. W. (2008). Transformative learning theory. New Directions for Adult and Continuing Education, 119, 5-15. http://dx.doi.org/10.1002/ace.301

Yoo, B., & Donthu, N. (2001). Developing a scale to measure the perceived quality of an Internet shopping site (SITEQUAL). Quarterly Journal of Electronic Commerce, 2(1), 31-45. https://sites.hofstra.edu/boonghee-yoo/wp-content/uploads/sites/32/2019/08/2001_QJEC_SITEQUAL.pdf

Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-27