กลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีชาและกาแฟ: กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยวชุมชนวิถีชาและกาแฟในจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ธันวา แก้วเกษ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • สุพรรณิการ์ ขวัญเมือง สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • กษิภณ อภิมุขคุณานนท์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • พรวศิน ศิริสวัสดิ์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

โซ่อุปทานการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, ชุมชนการท่องเที่ยวชาและกาแฟ

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-Based Tourism) เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ให้ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการจัดการและบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจท้องถิ่น งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาความท้าทายและโอกาสที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม งานวิจัยได้สำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์กระบวนการในโซ่อุปทาน ความท้าทาย และโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวของหมู่บ้านห้วยน้ำกืนและหมู่บ้านปางขอน ซึ่งพบว่า ในโซ่อุปทานมีการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการจัดการที่ดีในระดับชุมชน แต่ยังมีความท้าทายหลายประการที่ต้องเผชิญ เช่น การขาดการสนับสนุนทางเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ทันสมัย ความไม่พร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวในบางพื้นที่ และการขาดการฝึกอบรมในการบริหารจัดการธุรกิจท่องเที่ยว

ผลการวิจัยเสนอกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ 1. การให้ความรู้กับหมู่บ้านเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น 2. จัดตั้งกลุ่มผู้รับผิดชอบ หรือใช้อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ในการทำคอนเท้นท์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ของหมู่บ้าน 3. การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชน โดยคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างกันของวิถีชาและกาแฟ

References

ณัฎฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 25-46. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/113060

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. วีอินเตอร์พริ้นทร์.

นฤมล เกษมสุข. (2560, 26 พฤษภาคม). ททท.ดัน “ท่องเที่ยว 4.0” เคลื่อนเศรษฐกิจ. กรุงเทพธุรกิจ. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/756663

บุษบา สิทธิการ. (2557). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. สันติภาพ แพ็คพริ้นท์.

เชียงรายปักหมุด “เมืองแห่งชา-กาแฟ” กระตุ้นเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยว. (2565, 24 พฤษภาคม). ประชาชาติธุรกิจ. https://www.prachachat.net/local-economy/news-938875

ผู้จัดการออนไลน์. (2566, 25 กรกฎาคม). สสว.เผยเทรนด์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีชุมชนมาแรงหลังโควิด โตเพิ่ม 155% สร้างมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท. Mgronline. https://mgronline.com/smes/detail/9660000067036

สำนักงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. (2550). คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. ผู้แต่ง.

สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน: แนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Alford, P. (2005). A framework for mapping and evaluating business process costs in the tourism industry supply chain. In A. J. Frew (Eds.), Information and communication technologies in tourism 2005. (pp. 1-2). Springer. https://doi.org/10.1007/3-211-27283-6_12

Balakrishnan, A., & Geunes, J. (2004). Collaboration and coordination in supply chain management and e-commerce. Production and Operations Management, 13I(1), 1-2. https://doi.org/10.1111/j.1937-5956.2004.tb00140.x

Adriana, B. (2009). Environmental supply chain management in tourism: The case of large tour operators. Journal of Cleaner Production, 17(16), 1385-1392. https://doi.org/10.1016/J.JCLEPRO.2009.06.010

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination of the future. Tourism Management, 21(1), 97-116. https://doi.org/10.1016/S0261-5177(99)00095-3

Djatna, T., & Luthfiyanti, R. (2015). An analysis and design of responsive supply chain for pineapple multi products SME based on digital business ecosystem (DBE). In Procedia Manufacturing, 4, 155-162. https://doi.org/10.1016/j.promfg.2015.11.026

Font, X., Tapper, R., Schwartz, K., & Kornilaki, M. (2008). Sustainable supply chain management in tourism. Business Strategy and The Environment, 17, 260-271. https://doi.org/10.1002/BSE.527

Jugmohan, S., Spencer, J., & Steyn, J. (2016). Local natural and cultural heritage assets and community based tourism: Challenges and opportunities. Journal of Physical Activity and Health, 22, 306-317. https://hdl.handle.net/10321/2240

Kaukal, M., Hopken, W., & Werthner, H. (2000). An approach to enable interoperability in electronic tourism markets. In ECIS 2000 Proceedings, 121. https://aisel.aisnet.org/ecis2000/121

Kotler, P. (1984). Marketing management: Analysis, planning, and control. Prentice-Hall.

Likert, R. (1961). New patterns of management. McGraw-Hill.

Linton, J., Klassen, R., & Jayaraman, V. (2007). Sustainable supply chains: An introduction. Journal of Operations Management, 25, 1075-1082. https://doi.org/10.1016/J.JOM.2007.01.012

Pike, S. D. (2008). Destination marketing: An integrated marketing communication approach. Butterworth-Heinemann.

Sodhi, M., & Tang, C. (2021). Supply chain management for extreme conditions: Research opportunities. Journal of Supply Chain Management, 57(1), 7-16. https://doi.org/10.2139/ssrn.3861194

Song, H. (2012). Tourism supply chain management. Routledge.

Wu, H., Cao, J., Yang, Y., Tung, C., Jiang, S., Tang, B., Lui, Y., Wang, X., Deng, Y. (2019). Data management in supply chain using blockchain: Challenges and a case study. In 2019 28th International Conference on Computer Communication and Networks (ICCCN) (pp. 1-8). IEEE. https://doi.org/10.1109/ICCCN.2019.8846964

Yilmaz, Y., & Bititci, U. (2006). Performance measurement in tourism: A value chain model. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 18(4), 341-349. https://doi.org/10.1108/09596110610665348

Zhang, X., Song, H., & Huang, G. Q. (2009). Tourism supply chain management: A new research agenda. Tourism Management, 30(3), 345-358. https://doi.org/10.1016/j.tourman.2008.12.010

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-27