การสร้างสรรค์คุณค่าทางธุรกิจของนักธุรกิจ Generation Y
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์คุณค่าทางธุรกิจ, นักธุรกิจเจเนอเรชัน Y , เจเนอเรชัน Yบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกแบบเจาะจง ขอบเขตพื้นที่ศึกษา ภายในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีแนวคิดและทฤษฎีการสร้างสรรค์คุณค่าทางธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต การเก็บรวมรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์และเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เชิงเนื้อหา มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์คุณค่าทางธุรกิจของนักธุรกิจ Generation Y 2. เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนที่มีต่อธุรกิจของนักธุรกิจ Generation Y และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการประกอบธุรกิจของนักธุรกิจ Generation Y ให้ประสบความสำเร็จ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ นักธุรกิจ Generation Y จำนวน 16 คน โดยแบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 13 กลุ่ม ดังนี้ 1. ธุรกิจส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค 2. ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม 3. ธุรกิจไอที 4. นักลงทุน Bitcoin และอสังหาริมทรัพย์ 5. ธุรกิจเปลี่ยนสีรถยนต์ 6. ธุรกิจจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์นำเข้า 7. ธุรกิจขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 8. ธุรกิจให้เช่าพื้นที่ห้างสรรพสินค้า 9. ธุรกิจค้าส่งวัสดุก่อสร้าง 10. ธุรกิจขนส่งสินค้าทั่วประเทศ 11. ธุรกิจแฟรนไชส์ 12. ธุรกิจโรงแรม 13. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอะลูมิเนียม ผลการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ 1. การสร้างสรรค์คุณค่าทางธุรกิจของนักธุรกิจ Generation Y พบว่า มีการสร้างสรรค์คุณค่า 4 ด้าน ดังนี้ 1. คุณค่าด้านผลิตภัณฑ์และบริการ 2. คุณค่าด้านประสบการณ์ของลูกค้า 3. คุณค่าด้านองค์กรและการดำเนินงาน และ 4. คุณค่าด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ 2. ปัจจัยสนับสนุนที่มีต่อธุรกิจของนักธุรกิจ Generation Y พบว่า “ทุน”เป็นปัจจัยสนับสนุนที่มีต่อธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. ทุนทางเศรษฐกิจ2. ทุนทางวัฒนธรรม 3. ทุนทางสัญลักษณ์ และ 4. ทุนทางสังคม และผลการศึกษา 3. แนวทางในการประกอบธุรกิจของนักธุรกิจ Generation Y ให้ประสบความสำเร็จ พบว่า มีแนวทางในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ 9 แนวทาง ดังนี้ 1. การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 2. การใส่ใจในคุณค่าของแบรนด์และความรับผิดชอบต่อสังคม 3. การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า 4. การคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรม 5. การสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางธุรกิจ 6. การเรียนรู้และปรับตัวอย่างต่อเนื่อง 7. การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน 8. การใช้ประโยชน์จากโซเชียลมีเดีย 9. การสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน
References
ณัชชา ศิรินธนาธร. (2561). ทุนตามแนวคิดของปิแอร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu) กับสื่อชุมชน. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 (น. 1583-1589). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. https://publication.npru.ac.th/jspui/handle/123456789/142
ลัดดาวัลย์ เลขมาศ, และลลิตา หงษ์รัตนวงศ์. (2560). แนวทางการสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจในอุตสาหกรรมสับปะรด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(1), 79-90. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/utccjournalhs/article/view/175224
Glass, A. (2007). Understanding generational differences for competitive success. Industrial and Commercial Training, 39(2), 98-103. https://doi.org/10.1108/00197850710732424
Howe, N., & Strauss, W. (2000). Millennials rising: The next great generation. Vintage Books.
Hurst, J. L., & Good, L. (2009). Generation Y and career choice: The impact of retail career perceptions, expectations and entitlement perceptions. Career Development International, 14(6), 570-593. https://doi.org/10.1108/13620430910997303
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น