เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการตีพิมพ์เป็นบทความใหม่ และไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ผู้เขียนได้รายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ และไม่บิดเบือนข้อมูล
  • เนื้อหาของบทความ ทั้งข้อความ รูปภาพ และตาราง หากเป็นผลงานของผู้อื่น ผู้เขียนได้มีการอ้างอิงและการจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความแล้ว กรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
  • บทความมีองค์ประกอบและเนื้อหาสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการจัดรูปแบบบทความตามรูปแบบ (Template) ตามที่วารสารกำหนด และมีการอ้างอิงแบบ APA 7 (American Psychology Association)
  • บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารบริหารธุรกิจ บริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ผู้วิจัยทราบค่าธรรมเนียมการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์วารสารในอัตราละ 2,500 บาท

คำแนะนำในการเตรียมบทความ

เพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา

วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนาเป็นเอกสารวิชาการ ออกปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่1 ประจำเดือนมกราคม ถึง มิถุนายน และฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม) รับพิจารณาบทความครอบคลุมสาขาทางมนุษยศาตร์ โดยบทความแต่ละเรื่องจะรับการประเมินคุณภาพทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่านต่อฉบับ และบทความที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในฉบับนี้จักต้องไม่อยู่ ระหว่างการพิจารณาจากที่อื่น หรือได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อนเป็นวารสารเพื่อจัดเก็บรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และองค์ความรู้ด้านธุรกิจ โดยเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่บุคคลทั่วไป และส่งเสริมให้อาจารย์ประจำและผู้ทรงวุฒิในสาขาต่างๆ ได้เสนอผลงานทางวิชาการ : วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ราชมงคลล้านนา นี้ อยู่ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ การบัญชี เศรษฐศาสตร์และการจัดการ /สหวิทยากรด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ขนาดของบทความ

บทความควรมีความยาวระยะระหว่าง 8-15 หน้า (ไม่รวมหน้าปก) พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษ A4 พิมพ์แบบแนวตั้ง (Portrait) ใส่หมายเลขหน้าทุกหน้าที่ด้านขวาของกระดาษ (Page setup) และส่วนระยะขอบ (margins) ดังนี้

     ด้านบน (Top)  2.54   ซม.

     ด้านล่าง (Bottom)  2.54   ซม.

     ด้านซ้าย (Left)   2.54   ซม.

     ด้านขวา (Right)   2.54   ซม.

     ขอบเย็บกระดาษ (Gutter)  0    ซม.

     หัวกระดาษ (Header)   1.25   ซม.

     ท้ายกระดาษ (Footer)   1.25   ซม.

รูปแบการพิมพ์บทความ

พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft word 2003 ขึ้นไปรูปแบบตัวอักษร (Front) ให้ใช้ตัวอักษรTH SarabunNew หรือ TH SarabunPSK และขนาดอักษร (Size) 16 ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 บรรทัด

 ประเภทผลงานวิชาการ

  1. บทความวิชาการ (Academic article) ประกอบด้วย บทนำ สาระสำคัญที่จะเสนอ สรุปและเอกสารอ้างอิง
  2. บทความวิจัย (Research article) ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการดำเนินการวิจัย ผล อภิปรายผล สรุปผลหรือข้อเสนอ แนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
  3. บทความปริทัศน์ (Review article) ประกอบด้วย บทนำ สาระปริทัศน์ในประเด็นต่างๆ อภิปรายผล กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง
  4. บทวิจารณ์หนังสือ (Book article) ประกอบด้วย ชื่อหนังสือที่ต้องการนำมาวิจารณ์ ชื่อผู้เขียนและสังกัด ชื่อผู้แต่งหนังสือ รายละเอียดการตีพิมพ์ของหนังสือ ภาพหน้าปกหนังสือ รายละเอียดการวิจารณ์หนังสือให้แสดงข้อดีและข้อด้อยของหนังสือและข้อเสนอแนะ ควรมีจำนวนหน้าอยู่ระหว่าง 3-5 หน้า

รายละเอียดของหัวข้อหลักแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. ส่วนหน้าปก (Title page) ประกอบด้วย

           ชื่อเรื่อง (Title)

           ไม่ควรใช้ชื่อเรื่องที่ยาวเกินไป ควรมีความกระชับ ชัดเจน และครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ

            ผู้เขียน (Author)

            ระบุชื่อ และนามสกุลของผู้เขียนทุกคน โดยไม่ต้องใส่ตำแหน่งหน้าชื่อ

            ที่อยู่ (Address)

            ให้ระบุสังกัดและสถานที่ติดต่อโดยละเอียด เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 เป็นต้น และอีเมล

             (เฉพาะผู้ติดต่อหลัก)

            *ส่วนของหน้าปกต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  1. ส่วนของเนื้อหา (Content) ประกอบไปด้วย

        บทคัดย่อ (Abstract)

        บทคัดย่อต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและเขียนให้อยู่คนละหน้า และให้ใส่ชื่อเรื่องไว้บนบทคัดย่อ ขนาดตัวอักษร 18 นิ้ว ตัวหนา โดยบทคัดย่อควรระบุจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์โดยย่อของงานวิจัย ขอบเขตของงานวิจัยและผลวิจัยหลัก และมีจำนวนคำระหว่าง 300-350 คำ และต้องมีคำสำคัญจำนวน 3-5 คำ ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่ทำการศึกษาด้วย

        บทนำ (Introduction)

        กล่าวถึงที่มาของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เขียนเพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาการวิจัยและการตีกรอบปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน ประกอบด้วยความเป็นมาของปัญหาการวิจัยและความสำคัญ

        วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)

         ควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้มีความเป็นไปได้ และสามารถปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้ยังควรมีความชัดเจน เพื่อเข้าถึงความหมายได้ตรงกัน

          การทบทวนวรรณกรรม

          ทฤษฎี แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยเพื่อนำไปสู่สมมติฐานในการวิจัย

          วิธีการดำเนินการวิจัย (Materials and methods)

          เขียนบรรยายถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย วิธีการทดลอง วิธีการสุ่ม เป็นต้น และควรเขียนบรรยายให้สามารถทำการทดลองได้

          ผล (Result)

          เขียนบรรยายผลการวิจัยให้ละเอียด และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการศึกษา หากมีภาพ แผนภูมิ หรือตารางที่เกี่ยวข้องให้ใส่ลงในส่วนของผลด้วย

          อภิปรายผล (Discussion)

          กล่าวเน้นถึงการค้นพบที่สำคัญของงานวิจัยและอาจเชื่อมโยงผลเพื่อ เปรียบเทียบกับงานวิจัยที่เคยมีค้นคว้าไว้ก่อน

          กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)(Auknowledgement)

          ให้กล่าวถึงแหล่งเงินทุนที่ได้รับในการทำวิจัยเท่านั้น (หาก ไม่มีไม่ต้องใส่หัวข้อนี้ในบทความ)

เอกสารอ้างอิง (References)

ข้อกำหนอการเขียนเอกสารอ้างอิง มีดังนี้

  1. การอ้างอิงใช้รูปแบบการอ้างอิง APA
  2. แต่ละบทความไม่ควรมีอายุเกิน 10 ปี(แต่หากเป็นบทความที่เกี่ยวข้อกับทฤษฎีซึ่งมีอายุมากกว่า 10 ปี อนุโลมให้นำมาใช้อ้างอิงได้)

การส่งบทความต้นฉบับ 2 ช่องทาง โดย

กำหนดส่งเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาลงตีพิมพ์ Microsoft word 1ชุดตามช่องทางดังนี้

1. เว็บไซต์ : https://www.tci-thaijo.org/index.php/balajhss

ช่องทางการติดต่อสอบถาม

วารสารบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ราชมงคลล้านนา : นายณัฐพงศ์ นิลคำ โทรศัพท์/โทรสาร : 053-921 444 ต่อ 2849

อีเมล : balajournal@rmutl.ac.th

เว็บไซต์   : https://www.tci-thaijo.org/index.php/balajhss