บทบาทผู้หญิงในการสร้างความเสมอภาคทางการเมืองและงานอาสาสมัครพัฒนาสังคม
คำสำคัญ:
บทบาทผู้หญิง, ความเสมอภาคทางเพศ, งานอาสาสมัคร, ผู้หญิงกับการเมือง, สิทธิสตรีบทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องบทบาทของผู้หญิงในสังคมไทย จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในบริบททางการเมืองและสังคมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบความเชื่อและวัฒนธรรมไทยซึ่งมีผลต่อการจัดโครงสร้างอำนาจระหว่างเพศชายกับเพศหญิง และมีต่อความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางการเมืองที่แตกต่างกัน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันผู้หญิงเผชิญอุปสรรคและข้อจำกัดทางสังคมวัฒนธรรม ผู้หญิงถูกกำหนดให้เป็นผู้รับความช่วยเหลือและมีหน้าที่เฉพาะตามเพศสรีระหรือร่างกายที่ปรากฎในหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการถกเถียงเกี่ยวกับกับอำนาจ โอกาส และฐานะทางสังคมของผู้หญิง จุดเปลี่ยนสำคัญเรื่องความเสมอภาคทางเพศปรากฎให้เห็นในแนวทางการส่งเสริมการกระจายอำนาจที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2540 โดยเฉพาะในเรื่องของสิทธิและความเป็นธรรมที่ควรอยู่เหนือข้อจำกัดทางเพศ
ข้อมูลและสถิติได้แสดงให้เห็นจำนวนผู้หญิงที่เข้ามามีบทบาทในการเป็นอาสาสมัครทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคประชาชน รวมทั้งจำนวนของผู้หญิงที่ได้รับเลือกตั้งเพื่อทำหน้าที่ทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นถึงแม้จะมีมากขึ้นแต่ก็เติบโตไปอย่างเชื่องช้า ความพยายามของรัฐในการกระจายอำนาจทางการเมืองในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ยังไม่สามารถกระจายอำนาจที่ก้าวข้ามอุปสรคของความเชื่อและวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับสถานะทางเพศที่แตกต่างกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายได้ ประเทศไทยยังต้องผลักดันความคิดและปรับเปลี่ยนทัศนคติสังคม เรื่องการยอมรับความไม่เหมือนกันที่เท่าเทียมและเสมอภาคกัน การยอมรับและส่งเสริมผลักดันผู้หญิงให้เป็นกลไกในการพัฒนาสังคมและการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
คำสำคัญ
บทบาทผู้หญิง, ความเสมอภาคทางเพศ, งานอาสาสมัคร, ผู้หญิงกับการเมือง, สิทธิสตรี