จริยธรรมการตีพิมพ์
Publication Ethics
จริยธรรมการตีพิมพ์บทความในวารสาร
วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสาร สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย
Publication Ethics for Authors
จริยธรรมการตีพิมพ์ของผู้นิพนธ์
ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า
- บทความที่ผู้นิพนธ์ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
- ผลงานที่ส่งเข้ามาเพื่อตีพิมพ์เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์สังเคราะห์ เรียบเรียงจากผู้นิพนธ์ มิได้คัดลอกหรือนำข้อความของผู้อื่นมาเป็นของตน
- ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้เป็นไปตามรูปแบบและมาตรฐานตามที่วารสารกำหนด
- ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอเนื้อหาข้อมูลจากงานวิจัยและงานวิชาการบนหลักการทางวิชาการที่ถูกต้อง
- รายชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยหรือมีส่วนร่วมกับการดำเนินการอย่างแท้จริง
- ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของเนื้อหา ข้อความ รูปภาพ ตารางที่นำมาใช้อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์หรือการคัดลอกงาน (หากมีกรณีการร้องเรียนในประเด็นดังกล่าว ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่ฝ่ายเดียว โดยทางวารสารจะไม่ร่วมรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น) และจะดำเนินการถอนบทความออกจากการเผยแพร่ของวารสารทันที
- กรณีเป็นบทความจากงานวิจัยต้องแสดงข้อมูลการรับรองจริยธรรมการวิจัย หรือการแจ้งสิทธิ หรือคุ้มครองสิทธิให้กับผู้ร่วมวิจัยในงาน
- ในกรณีบทความวิจัยที่มีการสนับสนุน ผู้นิพนธ์ต้องระบุข้อมูลแหล่งทุนสนับสนุนหรือผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
จริยธรรมและบทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและคณะทำงาน
- คณะทำงานมีหน้าที่ตรวจสอบว่าบทความที่ส่งเข้ามาไม่มีความซ้ำซ้อนหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นมาก่อน
- บรรณาธิการ มีหน้าที่ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับขอบเขตของวารสาร
- บรรณาธิการต้องพิจารณาตรวจสอบบทความทุกเรื่องที่ส่งเข้ามาโดยใช้หลักการทางวิชาการเป็นหลัก และต้องไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์หรือเนื้อหาที่ผู้นิพนธ์นำเสนอไม่ว่ากรณีใด
- บรรณาธิการต้องพิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความที่ส่งเข้ามา
- บรรณาธิการและคณะทำงานต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ
จริยธรรมและบทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือเนื้อหาในบทความ
- ผู้ประเมินต้องพิจารณาคุณภาพบทความตามหลักการและเหตุผลทางวิชาการเป็นหลัก
- ต้องประเมินต้องรักษาความลับของบทความ ไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดไปเผยแพร่จนกว่ากระบวนการพิจารณาตีพิมพ์จะเสร็จสิ้น
- ผู้ประเมินบทความเสนอแนะหรือให้คำแนะนำตามหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บทความมีความสมบูรณ์ทางวิชาการในสาขานั้นๆ