แนวทางการบริการจัดการกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองไทรงาม ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • อุทิศ ทาหอม arm.utit.tahom@gmail.com
  • จริยา ดวดไธสง
  • อันธิกา คงประโคน

คำสำคัญ:

การพัฒนา, องค์ความรู้ชุมชน, ผ้าไหม, การบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองไทรงาม ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการจัดการผลิตภัณฑ์ผ้าไหมบ้านหนองไทรงาม ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม จัดเวทีระดมสมองร่วมกับกลุ่มสตรีทอผ้าไหม เป็นต้น ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนได้ร่วมกันตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าไหมขึ้นในปี พ.ศ. 2551 โดยงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลตำบลชุมเห็ด จำนวน 20,000 บาท และนอกจากนี้สมาชิกก็ได้ร่วมกันระดมเงินทุนเพื่อเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันทางกลุ่มสตรีทอผ้าไหมหนองไทรงามได้มีการปรับปรุงดัดแปลงลวดลายให้ทันสมัย ได้แก่ ลายแมงมุมและลายนาคกระโจม จนได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันได้มีการขายที่บ้านประธานกลุ่ม การขายออนไลน์ ส่งขายศูนย์สินค้าและของฝากจังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 1 ถนนคนเดินเซราะกราวบุรีรัมย์ และมีการจัดแสดงสินค้าของสำนักงานพัฒนาชุมชน เช่น เช่น งานกาชาด งานแสดงสินค้า (OTOP) ของจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

อุทิศ ทาหอม, arm.utit.tahom@gmail.com

 หน่วยงานสังกัด           ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการพัฒนาสังคมคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
                                     มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 

ความสนใจทางวิชาการ  การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์การส่งเสริมและพัฒนาอาหารพื้นถิ่น การทำเกษตรกรรมยั่งยืน

                                     การจัดการระบบนิเวศป่าชุมชนการประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมในการจัดการท้องถิ่น

สาขาที่สำเร็จการศึกษา   ศศ.ม. การบริหารการพัฒนาสังคม  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

ที่อยู่ติดต่อกลับ               สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
                                       มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  31000

อีเมล arm.utit.tahom@gmail.com, utis.th@bru.ac.th

จริยา ดวดไธสง

จริยา ดวดไธสง

นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อันธิกา คงประโคน

อันธิกา คงประโคน

นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-03