เส้นทางอพยพของคนไทยกับการจัดการการย้ายถิ่นภายใต้แนวคิด“สัญชาติทางวัฒนธรรม” ในเนเธอร์แลนด์

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

การอพยพย้ายถิ่นของคนไทย, สัญชาติทางวัฒนธรรม, การจัดการการอพยพย้ายถิ่น, เนเธอร์แลนด์, การสอบภาษา ภาษาดัตช์

บทคัดย่อ

 

บทความนี้นำเสนอเส้นทางการอพยพของคนไทยในเนเธอร์แลนด์ที่ต่อรองแนวคิด “สัญชาติทางวัฒนธรรม” ในนโยบายการจัดการการย้ายถิ่นของรัฐบาลดัตช์จากทศวรรษ 1980 ถึงปัจจุบัน บทความนี้ชี้ว่ากลุ่มคนไทยต้องเผชิญและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายควบคุมคนเข้าเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้อพยพต้องการพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศและโอนถ่ายสัญชาติในเวลาต่อมา การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์ในบริบทใหญ่ ที่เนเธอร์แลนด์เป็นหนึ่งในประเทศยุโรปตะวันตกที่มีเป้าหมายลดจำนวนคนอพยพในประเทศ หนึ่งในมาตรการดังกล่าวคือ การสอบบูรณาการพลเมืองที่ต้องผ่านภาษาดัตช์และความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมดัตช์ บทความนี้ศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกคนไทย 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่เดินทางเข้าพำนักอาศัยในเนเธอร์แลนด์แบบระยะยาวก่อนปี 2006 และ 2. กลุ่มที่อพยพเข้าไปหลังปี 2006 เนื่องจากปี 2006 เป็นช่วงที่รัฐบาลดัตช์ประกาศใช้กฎหมายบูรณาการพลเมืองอย่างเป็นทางการ และเพื่อเสนอข้อถกเถียงว่านโยบายที่เปลี่ยนแปลงตลอดจนเกณฑ์ในการสอบบูรณาการพลเมือง ส่งผลต่อการย้ายถิ่นที่ไม่เท่าเทียมกันของกลุ่มคนไทยที่มีเบื้องหลังการศึกษาและสถานภาพทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน

 

Author Biography

บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล, [email protected]

หน่วยงานสังกัด             อาจารย์ ดร.ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ความสนใจทางวิชาการ    ชายแดนศึกษา การอพยพย้ายถิ่นและการเคลื่อนย้าย และอาหารและวัฒนธรรม

วุฒิการศึกษา               จบการศึกษาปริญญาเอก ในสาขามานุษยวิทยาที่เกี่ยวกับชายแดนศึกษา

                                   การอพยพย้ายถิ่นและการเคลื่อนย้าย และอาหารและวัฒนธรรม     

ที่อยู่ติดต่อกลับ             ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-mail: [email protected] / [email protected]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-04