การจัดการความรู้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ธีรภัท ชัยพิพัฒน์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, วิสาหกิจชุมชนบ้านสบรวก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในพื้นที่ท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ปัญหาของการวิจัยคือ  1) เนื้อหาที่เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับการนำความรู้มาจัดการความรู้ด้านการท่องเทียวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านสบรวก ในพื้นที่ท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำ มีวิธีดำเนินการอย่างไร และ 2) เนื้อหาที่เชื่อมโยงของความรู้เกี่ยวกับศักยภาพในการใช้องค์ความรู้บ้านสบรวกในพื้นที่ท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำมีรูปแบบการจัดการความรู้ในลักษณะอย่างไร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 30 ราย มีผู้ให้ข้อมูลหลักคือ 1) ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว จำนวน 3 ราย 2) คนพื้นที่ในชุมชนบ้านสบรวก จำนวน 15 ราย 3) หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 2 ราย และ 4) นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 10 ราย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีดำเนินการวิจัยคือ ศึกษาศักยภาพของชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประมวลองค์ความรู้ ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ และได้องค์ความรู้ใหม่ในรูปแบบของการจัดการความรู้ในพื้นที่ทำการวิจัย                                      ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ในการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านสบรวกกล่าวคือ องค์ความรู้ที่ประยุกต์ใช้สามารถนำมาใช้ในการจัดการความรู้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของพื้นที่ท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำได้เป็นอย่างดี โดยองค์ความรู้นั้นสามารถจำแนกความรู้ได้เป็น 4 ด้าน คือ 1) ประวัติศาสตร์ของบ้านสบรวกตั้งแต่ยุคแรกจนถึงยุคการพัฒนาตามกรอบภูมิภาคนิยม และเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เช่น กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ 2) ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภททรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น แม่น้ำโขง ดอยสะโง้ และทรัพยากรทางด้านวัตถุ เช่น โบราณสถาน วัด และพิพิธภัณฑ์  3) นักท่องเที่ยว โดยมีกลุ่มนักท่องเที่ยวหลัก 3 กลุ่มคือ กลุ่มนักท่องเที่ยวขาจร นักท่องเที่ยวพักค้างคืน และนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ 4) วิสาหกิจชุมชนบ้านสบรวก เช่น  กลุ่มมันเกรียบ กลุ่มประมงพื้นบ้านลุ่มน้ำโขง  กลุ่มเรือนำเที่ยว  และกลุ่มถักทอ   เป็นต้น โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนี้เป็นกลุ่มที่

มีการมีการนำองค์ความรู้มาใช้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำ ส่วนศักยภาพของการใช้องค์ความรู้ในการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำพบว่า มีกระบวนการสำคัญคือกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะบ้านสบรวกกับนักท่องเที่ยว ศักยภาพของการใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์มีลักษณะเป็นพลวัต กิจกรรมสร้างสรรค์นำสู่การผสมผสานขององค์ความรู้ เกิดเป็นศักยภาพของการใช้องค์ความรู้ชุดใหม่ที่เป็นหัวใจในการนำความรู้ไปใช้ และเป็นพลังของบ้านสบรวกในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำในเบื้องต้นได้      

References

เอกสารภาษาไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ภารกิจของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2560-2565. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
คณะวิจัยจาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ (บรรณาธิการ). (2547). แม่น้ำโขง: แม่น้ำแห่ง วิถีชีวิตและวัฒนธรรม. เชียงใหม่: เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการแม่น้ำและ ชุมชน.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2553). องค์การแห่งความรู้:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ .กรุงเทพฯ: แชตไฟร์พริ้นติ้ง.
ทัศนีย์ ดอนเนตร. (2556). องค์ความรู้ภูมิปัญญาเรื่องประเพณีการแข่งเรือ อำเภอเชียงแสน จังหวัด เชียงราย. เชียงราย: ฝ่ายวัฒนธรรมอำเภอเชียงแสน ที่ว่าการอำเภอเชียงแสน.
รัชนี พิมพ์อุบล. (2554). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงราย. เชียงราย: กลุ่มส่งเสริม และพัฒนา เกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย กรมส่งเสริมการเกษตร.
สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร. (2557). แนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ABC). เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดเชียงราย จาก www.chiangrai.mots.go.th/graph_views.php?graph_id=16, เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562.
เอกสารภาษาอังกฤษ
Becerra, F. I.Gonzalez, A. and Sabherwal, R. (2004). Knowledge Management. New Jersey NJ: Pearson Prentice Hall.
Community Enterprise Promotion Division. (2013). Community Enterprise Information Systems. Retrieved September 23, 2013, from http://smce.doae.go.th
Nonaka and Takeuchi. (1995). “โมเดลเซกิ (SECI Model)”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://aminaghazadeh.edublogs.org/2010/08/30/nonakas-seci-model/.
เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2562.
Richards,G. & Marques. (2012). Exploring Creative Tourism: Editors Introduction. Journal of Tourism Consumption and Practice, 4(2): 1-11.
Wurzburger, R. (2010). Introduction to theSantaFe & UNESCO International Conference A Global Conversation on Best Practices and New Opportunities. In Wurzburger, R.(Ed.). Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe. (pp. 15–25). New Mexico. USA.
Oranratmanee, Rawiwan. (2012). Karn Chai Pauen Tee Satharana Pen Thanon Kon Dern Bab Talad Nad Nai Maung Kong Thai. (In Thai) [The Use of Public Space for Walking Street in a Form of Flea Market in Thai Urban Cities]. Bangkok: Thailand Research Fund.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-07