เรื่องเล่าคนด่านหน้า : อัตวิสัย การรับมือโรคอุบัติใหม่19 (โควิด-19) ในจังหวัดชายแดนใต้ กรณีศึกษาอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • วรเชษฐ เขียวจันทร์ และมูหาหมัดอาลี กระโด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาและทำความเข้าใจบุคลากรทางแพทย์และสาธารณสุข ในฐานะผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ เกี่ยวกับอัตวิสัยและประสบการณ์การรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (Covid-19) ในบริบทชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่ามีความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ ความรู้ ความกลัว และจัดการตนเองในภาวะเหล่านั้นอย่างไร การศึกษานี้มุ่งทำความเข้าใจประสบการณ์ด่านหน้าจากคนทำงานโดยตรง โดยใช้กรอบการวิเคราะห์เรื่องเล่า (narrative analysis) ผ่านแนวคิดเรื่องเล่าเพื่อการเยียวยา (narrative medicine) กรอบความคิดเชิงทฤษฎีของงานวิจัยนี้คือการวิเคราะห์เรื่องเล่าในมานุษยวิทยาการแพทย์ (Narrative Analysis in Medical Anthropology) ส่วนวิธีวิทยาการที่ใช้คือการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสำรวจเรื่องเล่าจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในพื้นที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ผลการวิจัยพบว่าในขณะที่เรื่องเล่าจากรัฐไทยซึ่งมุ่งเน้นไปที่จำนวนตัวเลข สถิติผู้ติดเชื้อ ได้ลดทอนคุณค่าประสบการณ์ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในช่วงเวลานั้น การเล่าเรื่องโดยผู้ปฏิบัติงานเองได้เสริมพลังให้พวกเขาในฐานะคนทำงานด่านหน้า ยิ่งไปกว่านั้น “การเล่าเรื่อง” ในฐานะเครื่องมือของกระบวนการวิจัยทางมานุษยวิทยาการแพทย์ยังเป็นส่วนสำคัญต่อการทำความเข้าใจการรับมือ จัดการ ป้องกัน การแพร่ระบาดของกับโรคอุบัติใหม่ในระยะต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-28