การเมืองดิจิทัล : การเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองของคนกลุ่มใหม่ในโลกเสมือน
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการอธิบายการเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมืองแบบใหม่ในประเทศไทย เนื่องจากปรากฏการณ์ทางการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในหลายประเทศทั่วโลก เช่น อาหรับสปริงส์ (Arab Spring) การประท้วงในสหรัฐอเมริกา ต่างอาศัยเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ในการขับเคลื่อนขบวนการ ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการทางการเมืองแบบใหม่ ขณะที่ในกรณีของประเทศไทยนั้น การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่ผ่านมา (พ.ศ.2562) ภายหลังการครองอำนาจมาอย่างยาวนานของคณะรัฐประหาร ก็เกิดปรากฏการณ์ที่พรรคอนาคตใหม่ระดมใช้การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทั้งเฟสบุ๊ค ไลน์ และทวิตเตอร์ จนได้รับเลือกตั้งจำนวนมาก ส่งผลให้ภูมิทัศน์ทางการเมืองของไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเหล่านี้ เกิดท่ามกลางบริบทของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ครอบคลุมพื้นที่ในวงกว้างจนรัฐยากจะควบคุม ขณะเดียวกันสื่อสังคมออนไลน์ก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองของคนกลุ่มต่าง ๆ
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-01-31 (2)
- 2021-12-30 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 ชัยพงษ์ สำเนียง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.