การต่อรองและการช่วงชิงทางอัตลักษณ์ที่ส่งผลต่อกรอบความคิดและกระบวนการเรียนรู้ ของเยาวชนมลายูมุสลิมภายใต้ระบบการศึกษาไทย:กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • อามีนะห์ หลงเดวา คณะวิทยาการเรียนรู้และการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ไอยเรศ บุญฤทธิ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

การต่อรองและการช่วงชิงด้านการศึกษาของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกระบวนการเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องด้วยข้อถกเถียงการศึกษาที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ควรเป็นการศึกษาในรูปแบบใด บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าโรงเรียนในพื้นที่มีการต่อรองต่อนโยบายการศึกษาที่ทันสมัยและคงรูปแบบการศึกษาในด้านศาสนาที่เป็นรูปแบบการศึกษาที่สร้างความเข้มแข็งทางอัตลักษณ์ของความเป็นมลายูมุสลิมซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมของชาวมลายูมุสลิมอย่างไร เพื่อช่วงชิงความหมายของ “การศึกษาเพื่อการศึกษาของชาวมลายูมุสลิม” และผลที่กระทบต่อเยาวชนมลายูมุสลิมในฐานะผู้ผ่านกระบวนการต่อรองและการช่วงชิงของโรงเรียนสะท้อนการให้ความหมายความเป็นมลายูมุสลิมของเยาวชนอย่างไรผ่านการแสดงออกทางร่างกายและความคิด โรงเรียนกรณีศึกษา 3 แห่ง โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา 2 แห่ง โรงเรียนรัฐ 1 แห่งในพื้นที่จังหวัดยะลา ใช้แนวคิดและทฤษฎีปฏิบัติการของบูดิเยอในการทำความเข้าใจพื้นที่ การหยิบนำชนิดของทุนที่เป็นแหล่งอำนาจในการต่อรองและการช่วงชิง และฮาบิทัสที่ทำความเข้าใจการแสดงออกของเยาวชนมลายูมุสลิมผ่านร่างกายและความคิดในฐานะผู้รับวัฒนธรรมการเรียนรู้ในระบบการศึกษา

           ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนทั้ง 3 แห่งมีกระบวนการต่อรองและการช่วงชิงอัตลักษณ์มลายูมุสลิมที่กระทำไปมาภายใต้กระแสของความทันสมัยจากกรอบการพัฒนาการศึกษาใน 3 รูปแบบภายใต้ทุนชนิดต่าง ๆ คือ 1) ทุนทางวัฒนธรรมกับการต่อรองและการช่วงชิงในรูปแบบผลิตซ้ำสิ่งเดิมและรับสิ่งใหม่เข้ามา 2) ทุนทางวัฒนธรรมกับการต่อรองและการช่วงชิงในรูปแบบการรื้อถอนรูปแบบวัฒนธรรมการเรียนรู้เดิม และ 3) การต่อรองและการช่วงชิงอัตลักษณ์มลายูมุสลิมในรูปแบบการสร้างทุนทางสังคม

รูปแบบการต่อรองและการช่วงชิงที่แตกต่างกันนี้ส่งผลให้เยาวชนมลายูมุสลิมแสดงออกต่อการให้ความหมายอัตลักษณ์มลายูมุสลิมที่แตกต่างกันทั้งการต่อรองที่เรียนรู้ในการทำตามต้นแบบ (mimesis) และมีการช่วงชิงที่แสดงออกผ่านร่างกายและความคิดที่ต้องการให้ความหมายต่อตนเองซึ่งปรากฏใน 2 พื้นที่ คือ 1) พื้นที่กายภาพ และ 2) พื้นที่ออนไลน์ ซึ่งในสองพื้นที่นี้แสดงให้เห็นถึงพลวัตของการอัตลักษณ์เยาวชนมลายูมุสลิมที่ต่อรองและช่วงชิงความหมายต่อตนเองที่แสดงออกถึงความร่วมสมัยด้วยอิทธิพลของการศึกษาและการได้รับความรู้และประสบการณ์จากพื้นที่ออนไลน์ที่แนวคิดการพัฒนาและความทันสมัยเข้ามาสู่ความคิดของเยาวชนมลายูมุสลิม   

References

Khunweechuay, N. & Rungtawanruangsri, S. (2023) Social Capital. Bangkok: Princess Maha Chakri

Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organisation)

Mahamha, A. (2015). Ceramoh Agama (religion explanation): Spactial Practice for Negotiation and

Traditional Malay Muslim’s Religious Movement. Journal of Social Sciences, Faculty of

Social Sciences, Chiang Mai University, 27(2), 63-99.

Poolsawat, S., Khemkhunasai, P., & Temrattanakul, T. (2021). “Dalaw Traditional Pondok”:

Reproduction Space for Malayu Moslem Identity in the Three Southern Bordering Provinces

under the Conflict with the Present National Education Policy. Inthaninthaksin Journal, Thaksin University, 16(2), 161-186.

Laungaramsri, P. (2020). Theory of Practice and The Turning Point in Anthropology. Journal of

Anthropology, Sirindhorn Anthropology Centre (JASAC), 3(2), 186-194.

Rapheephat, A. (2008). Culture by Clifford Geertz. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn

Anthropology Centre (Public Organisation).

Suwanworaboon, S. & Haruthaithanasan, T. (2020). Low O-NET Scores in Southern Frontier: Origin

of the Issue and Alternative in Problem Management. Academic Services Journal, Prince

of Songkla University, 31(1), 265-269.

Tantivejjavanichaya, C. (2021). Relationship between the Social Constructions of Target

Populations with Building the Policy Advocacy Coalitions: Case Studies of the Struggle to Advance Educational Curriculum in Southern Thailand Border Provinces. Journal of Integrated Sciences, 18(1), 118-153.

Tuwaesidek, W. I. (2021). Patani History through the View of Long-term History: From 7

Huamuangs to the Anglo-Siamese Treaty of 1909 (1808-1909). Journal of Social Sciences

Naresuan University, 17(1), 187-214.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28