การระดมทรัพยากร: การจัดการไฟป่าพื้นที่ดอยผาหม่น อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • อดิศร ภู่สาระ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • สุมาลินี สาดส่าง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การระดมทรัพยากร, การจัดการไฟป่า, ดอยผาหม่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการไฟป่า พื้นที่ดอยผาหม่น อำเภอเวียงแก่นจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษารูปแบบเดี่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการไฟป่า และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการไฟป่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านเครือข่ายป้องกันไฟป่าพื้นที่ดอยผาหม่น อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกข้อมูล และการพิจารณาคุณภาพงานวิจัยด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านข้อมูลจากหัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าภูชี้ฟ้าอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการไฟป่าของหมู่บ้านพื้นที่ดอยผาหม่น ประกอบด้วยการระดมทรัพยากร และการจัดการไฟป่า โดยรูปแบบของการระดมทรัพยากร คือ 1) ทรัพยากรวัตถุโดยการสนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์จากสถานีควบคุมไฟป่า 2) ทรัพยากรมนุษย์ จากอาสาสมัครไฟป่าหมู่บ้าน ราษฎรในหมู่บ้าน อาสาสมัครไฟป่าหมู่บ้านใกล้เคียง และพนักงานดับไฟป่า 3) ทรัพยากรด้านองค์กร-สังคม โดยการสร้างเครือข่ายประสานงานหมู่บ้านใกล้เคียง และหน่วยงานภาครัฐ 4) ทรัพยากรวัฒนธรรม โดยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมชุมชนเกี่ยวกับไฟป่า และ 5) ทรัพยากรด้านหลักธรรมจริยา โดยการกำหนดกฎเกณฑ์บังคับใช้กับราษฎรในชุมชน ส่วนรูปแบบการจัดการไฟป่า คือ 1) การป้องกันไฟป่าโดยการให้ความรู้กับราษฎร การจัดตั้งอาสาสมัครไฟป่า การทำแนวกันไฟ การชิงเผา การจัดหาอุปกรณ์ และ 2) การควบคุมไฟป่า โดยกำหนดวิธีการเลือกใช้แรงงานมนุษย์ตามระดับความรุนแรงของไฟป่า และการประเมินผลการดับไฟป่าหลังเกิดเหตุ และหลังสิ้นฤดูกาลไฟป่า
  2. ปัญหา อุปสรรคการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการไฟป่า ประกอบด้วย การระดมทรัพยากรและการจัดการไฟป่า โดยปัญหาการระดมทรัพยากรคือ 1) การสร้างเครือข่ายกับหมู่บ้านที่มีราษฎรต่างกลุ่มชาติพันธุ์ 2) งบประมาณการจัดหายานพาหนะ และการจัดจ้างพนักงานดับไฟป่า ส่วนปัญหาการจัดการไฟป่าคือ 1) ไฟป่าที่ลุกลามจากประเทศเพื่อนบ้าน และ 2) ขวัญกำลังใจของอาสาสมัครไฟป่า จากมุมมองของสังคมว่าเป็นกลุ่มผู้ต้องรับผิดชอบปัญหาหมอกควัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

จำเนียร บุญเข็ม และ ปิยากร หวังมหาพร. (2563). รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์ เขตอุทยานแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20(1), 92-104.

ชลิต ศรีจันทร์แก้ว และ นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2558). ปัจจัยการตั้งถิ่นฐานและพื้นที่ทำกินที่ส่งผลต่อการใช้

ประโยชน์พื้นที่ป่าและการจัดการไฟป่า. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 16(1), 29-41.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). วิภาษา.

ธนากร พันธุระ. (2560). ไฟป่า: ความรู้ การจัดการ การปรับตัวในเขตเทือกเขาภูแลนคา. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิวัฒน์ สงมา และคณะ. (2555). การจัดการควบคุมไฟป่าร่วมกัน ระหว่างรัฐและชุมชน: กรณีศึกษาพื้นที่ป่าดงใหญ่ ตำบลสร้างถ่อน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(1), 197-215.

ปวีณ มาศขาว กิติชัย รัตนะ และ อภิชาต ภัทรธรรม. (2565). การมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ในการป้องกันไฟป่า อุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(2), 108-122.

พัฒนา นาคทอง สุพิมล ขอผล และ ภิชญาดา สิริยาวาณิช. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของผู้ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ดอยพระบาท จังหวัดลำปาง. ลำปางเวชสาร, 42(1), 1-8.

มณีมัย ทองอยู่. (2557). แนวคิดทฤษฎีสังคมวิทยาว่าด้วยขบวนการทางสังคม. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มันทนา ปัญญาคำ แล ะพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2564). พัฒนาการนโยบายไฟป่าและหมอกควัน: กรณีศึกษานโยบายไฟป่าและหมอกควัน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการบริหารปกครอง, 10(1), 407-446.

วินิจ ผาเจริญ. (2562). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านห้วยฮี้ ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 4(2), 137-150.

วิริยา ด้วงน้อย. (2562). นิเวศวิทยาการเมืองว่าด้วยความขัดแย้งและการต่อต้านการทำเหมืองแร่ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 7(2), 131-154.

สมชัย ภัทรธนานันท์. (2563). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมจากมุมมองของแนวคิดการให้ความหมาย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 7(1), 211-220.

สมพงษ์ เตชะเมืองมูล และคณะ. (2564). กลยุทธ์การจัดการเชิงพื้นที่การเผาป่าของรัฐฉานที่มีผลต่อกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(2), 19-33.

สวรินทร์ เบ็ญเด็มอะหลี. (2560). เหลียวหลัง และหน้า กับวิกฤตไฟป่าของประเทศไทย. วารสารวิจัยสังคม, 10(1), 141-175.

อดิศร ภู่สาระ. (2565). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ชุมชนม้งห้วยหาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 9(3), 9-17.

อารตี อยุทธคร. (2561). การปรับตัวและต่อรองของชุมชนผ่านโครงการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 14(2), 16-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01