การศึกษาบริบทชุมชนและการวางแผนพัฒนาชุมชนเมืองแบบมีส่วนร่วม ชุมชนทศทิศพัฒนา หมู่ที่ 2 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย สายบุญจวง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม, การวางแผนพัฒนาชุมชน, ชุมชนเมือง

บทคัดย่อ

จากกระแสการพัฒนาแบบโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาซึ่งได้ส่งผลกระทบให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ โดยเฉพาะการขาดโอกาสในการมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ๆ 

ชุมชนทศทิศพัฒนา หมู่ 2 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นชุมชนเมืองชุมชนหนึ่งที่ได้รับผลจากกระแสการพัฒนาดังกล่าว จนทำให้การดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนเป็นการใช้ชีวิตแบบคนเมืองและนำไปสู่ปัญหาการขาดมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาชุมชน ประกอบกับแกนนำชุมชนขาดความรู้เกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการทำแผนพัฒนาชุมชน  จึงทำให้ประเด็นการวางแผนพัฒนาชุมชนเมืองแบบมีส่วนร่วมด้วยวิธีการวิจัยเพื่อท้องถิ่นมีความน่าสนใจมาก ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการทำแผนพัฒนาชุมชนเมืองแห่งนี้เริ่มด้วยการเก็บวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสร้างแนวทางและกิจกรรมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ข้อมูลลักษณะทางกายภาพ ความเป็นมาของชุมชน จำนวนประชากร การประกอบอาชีพ แหล่งทรัพยากรของชุมชน สถานที่สำคัญของชุมชน วัฒนธรรมหลัก และกิจกรรมการผลิตตลอดทั้งปีมาใช้ในการหาแนวทางการพัฒนา เพื่อค้นหากิจกรรมในการแก้ปัญหาด้านอาชีพและดึงปราชญ์ชุมชนมาเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมการพัฒนา แผนพัฒนาชุมชนเมืองที่ได้ครอบคลุมทั้งมิติสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงการจำนวน 4 โครงการ ที่ช่วยพัฒนาความสามารถให้กับแกนนำชุมชนอันเป็นการเสริมพลัง 2 ลักษณะ คือ การเสริมพลังผ่านการลงมือปฏิบัติและกระบวนการเรียนรู้จากเวทีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้เกิดผลลัพธ์ 2 ประการ คือ 1. ได้นักวิจัยชุมชน ที่สามารถคิดได้เป็นเหตุผล กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในเวทีประชุม อีกทั้งยังมีความสามารถในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม 2.ได้แผนพัฒนาชุมชนซึ่งเกิดขึ้นจากการร่วมศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลกับคนในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). คุณลักษณะและวิธีวิทยางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. หจก.วนิดาการพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2565). การมีส่วนร่วมคาถาข้อที่ 2 ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. หจก.วนิดาการพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2565). การเสริมพลังกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. หจก.วนิดาการพิมพ์.

เกษสุดา สิทธิสันติกุล. (2548). กระบวนทัศน์วิจัยเพื่อท้องถิ่น จุดเปลี่ยนการพัฒนา. วนิดาเพรส.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). คู่มือ แนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรมการพัฒนาชุมชน.

ชุติพงศ์ ร่มสนธิ์. (2562). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่อการเลือกตั้งถิ่นฐานในยุคก่อนประวัติศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักตอนกลางถึงตอนล่าง, วารสารดำรงวิชาการ, 8(1), 37-58.

ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์. (2560).การวางแผนพัฒนาชุมชนและการสร้างอัตลักษณ์ชุมชน. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. (2555). ชุมชน. นำศิลป์โฆษณา จำกัด.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม: แนวความคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. สถาบันพระปกเกล้า.

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2553). ชุมชนศึกษา. บริษัทแอคทีฟ พริ้น จำกัด.

ปกิตน์ สันตินิยม.(2564). การบริหารจัดการน้ำตามหลักธรรมาภิบาล, วารสารมหาจุฬานาครทรรษน์, 8(1), 20-32.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่13 (พ.ศ.2566-256-2570). ราชกิจจานุเบกษา.(2565). เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258.11.

พิจักษ์ ศรีมั่น. (2565). แผนพัฒนาชุมชนบ้านทศทิศพัฒนา หมู่ 2 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. ทศทิศพัฒนา.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น. (2566). การศึกษาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น.

วุฒิชัย สายบุญจวงและสมทรง บรรจงธิติทานต์. (2564). การพัฒนากลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วมสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว, วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(2), 91-104.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2559). คู่มือการวางแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2548). กระบวนทัศน์วิจัยเพื่อท้องถิ่น.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2561).ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบทางสังคม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทิศ ทาหอม. (2566). รากฐานและกระบวนทัศน์การวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม, วารสารมานุษยวิทยา, 6(1), 183-220.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01